การศึกษาเกี่ยวกับสมาธิในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 14
หน้าที่ 14 / 324

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอการแบ่งประเภทของสมาธิในวิสุทธิมรรค เช่น ฉันทสมาธิ, วิริยสมาธิ และจิตตสมาธิ พร้อมทั้งอธิบายถึงความเศร้าหมองและความผ่องแผ้วแห่งสมาธิ รวมทั้งแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องในวิภังค์เพื่อให้ผู้สนใจเข้าใจธรรมต่างๆ ได้ดีขึ้น

หัวข้อประเด็น

-ประเภทของสมาธิ
-ความเศร้าหมองแห่งสมาธิ
-ความผ่องแผ้วแห่งสมาธิ
-การแบ่งประเภทสมาธิในวิสุทธิมรรค
-จิตตสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที 13 เดียวไซร้ สมาธินี้เรียกว่าฉันทสมาธิ ถ้าภิกษุทำวิริยะให้เป็นใหญ่ ได้สมาธิ ได้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไซร้ สมาธินี้เรียกว่า วิริยสมาธิ ถ้าภิกษุทำจิตตะให้เป็นใหญ่ได้สมาธิ ได้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไซร้ สมาธินี้เรียกว่าจิตตสมาธิ ถ้าภิกษุทำวิมังสาให้เป็นใหญ่ได้สมาธิ ได้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไซร้ สมาธินีเรียกว่า วิมังสาสมาธิ" อย่างนี้แล สมาธิเป็น ๔ โดยจำแนกตามอิทธิบาทที่เป็นอธิบดี (ปัญจกะ ( สมาธิหมวด ๕ )] พึงทราบฌาน ๕ เพราะแบ่ง (ทุติยฌานในจตุกนัย) เป็น ๒ โดยวิธีอย่างนี้ คือ ทุติยฌานที่กล่าวในจตุกนัย (นั่นแลแบ่ง ) เป็น ทุติยฌาน เพราะวิตกอย่างเดียวล่วงไป เป็นตติยฌาน เพราะทั้งวิตก และวิจารล่วงไป สมาธิเป็นองค์แห่งฌาน ๕ นั้น จึงเป็นสมาธิ ๕ พึงทราบความที่สมาธิเป็น ๕ โดยเป็นองค์ปัญจกฌานอย่างนี้แล [ความเศร้าหมองและความผ่องแผ้วแห่งสมาธิ และ ก็แลคำเฉลยในปัญหาข้อว่า " อะไรเป็นความเศร้าหมอง อะไรเป็นความผ่องแผ้วแห่งสมาธินั้น " นี้ท่านกล่าวไว้แล้วในวิภังค์ จริงอยู่ ในวิภังค์นั้นกล่าวไว้ว่า หานภาคิยธรรม (ธรรมอันเป็นไป ทางฝ่ายเสื่อม) ชื่อว่า ความเศร้าหมอง วิเสสภาคิยธรรม (ธรรมอันเป็นไป ทางฝ่ายวิเศษขึ้น ) ชื่อว่าความผ่องแผ้ว ดังนี้ ในธรรม ๒ 1) ๑. อภ. ๒๕/๒๕๖ ๒. อภิ.วี ๓๕/๔๖๕
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More