วิสุทธิมรรค: ราคจริตและโมหจริต วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 45
หน้าที่ 45 / 324

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับราคจริตและโมหจริตในทัศนะทางธรรม โดยอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างธาตุในร่างกายและโทษที่เกิดขึ้น การกล่าวถึงกรณีคนที่มีเสมหะและลมเป็นหลัก และความไม่แน่นอนในจริยาที่เกี่ยวข้องกับอาการและอดีตกรรมที่ต่างกัน นอกจากนี้ยังเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการกำหนดจริยาและปัญหาที่เกิดจากการแยกธาตุทั้งสี่

หัวข้อประเด็น

-ราคจริต
-Mohจริต
-ธาตุทั้งสี่
-จริยาของคน
-กรรมในปางก่อน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 44 เป็นราคจริต เพราะธาตุทั้งปวงเสมอกัน โดยนัยดังนี้ ๑ ในโทษ ทั้งหลายเล่า คนที่ยิ่งด้วยเสมหะย่อมเป็นราคจริต คนที่มีด้วยลมเป็น โมหจริต หรือว่าคนที่ยิ่งด้วยเสมหะเป็นโมหจริต คนที่ยิ่งด้วยลมเป็น ราคจริต โดยนัยดังนี้ ๑ ท่านจึงกล่าวว่า จริยา ๒ ข้างต้น มีธาตุและ โทษ (ในร่างกาย) เป็นต้นเหตุ (แต่) เพราะว่าในบุคคลเหล่านั้น แม้คนทั้งหลายที่มากไปด้วย ประโยคอันน่าพอใจและกรรมที่ดีงามในปางก่อน และแม้คนทั้งหลาย ที่จุติจากสวรรค์มาเกิด (เป็นคน) ในมนุษยโลกนี้ก็ดี หาได้เป็นราค จริตไปทั้งหมดไม่ หรือว่าคนทั้งหลายนอกนี้ (คือคนที่มากไปด้วยกรรม อันเป็นเวร มีฟันเขาเป็นต้น และคนที่จุติจากนรกเป็นต้นมาเกิด (เป็นคน) ในมนุษยโลกนี้) ก็มิได้เป็นโทสจริต และโมหจริตไป ทุกคน อนึ่ง การกำหนดจริยาด้วยความหนาแห่งธาตุทั้งหลาย โดย นัยตามที่กล่าวนั้นก็มีไม่ได้ และในการกำหนด (จริยา) ด้วยโทษ (ในร่างกาย) ท่านก็กล่าวไว้แต่ ๒ คือ ราคจริต และโมหจริตเท่านั้น แม้คำที่กล่าวในตอนนี้เล่า คำหน้ากับคำหลังก็ผิดกันทีเดียว” ส่วน ในจริยา ๒ ข้างปลาย ท่านไม่กล่าวต้นเหตุไว้เลยสักข้อเดียว เพราะ ฉะนั้น คำทั้งหมดนั่นจึงเป็นคำ (ที่กล่าวโดย) มิได้กำหนด (ให้ เค็ดขาด) ๑. มหาฎีกาช่วยขยายความ ดูเหมือนจะว่าดังนี้มีไม่ได้ เพราะจะวัดจำนวนหรือวัดขนาด กันได้อย่างไร ว่าอะไรหนาเท่าใด อีกอย่าง ธาตุทั้ง 4 นั้นย่อมอาศัยกันเป็นไป จะแยกให้เด็ดขาดออกจากกันเอามาประมาณขนาดได้อย่างไร ๒. คือคำหน้าว่า คนที่ยิ่งด้วยเสมหะเป็นราคจริต และคำหลังกลับว่า คนที่ยิ่งด้วยลมเป็น ราคจริตอีกเล่า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More