ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 308
[สีลานุสสติ]
ส่วนว่า พระโยคาวจรผู้ใคร่จะเจริญสีลานุสสติ จึงเป็นผู้ไปใน
ที่ลับ ( คน ) เร้นอยู่ ( ในเสนาสนะอันสมควร แล้ว ระลึกถึงศีลทั้งหลาย
ของตน โดย ( ระลึกถึง คุณ (สมบัติแห่งศีล ) มีความเป็นศีลไม่ขาด
เป็นอาทิ โดยนัยว่า" โอ ! ศีลทั้งหลายของเราไม่ขาดหนอ โอ ! ศีล
ทั้งหลายของเราไม่ทะลุหนอ ไม่ด่างหนอ ... ไม่พร้อยหนอ ...เป็น
ไทยหนอ ... ผู้รู้สรรเสริญหนอ ... ไม่ถูกปรามาสหนอ ... เป็นทาง
สมาธิหนอ" ดังนี้ ก็แลศีลเหล่านั้น ผู้เป็นคฤหัสถ์พึงระลึกถึงศีลที่เป็น
ของคฤหัสถ์ บรรพชิตก็พึงระลึกถึงศีลที่เป็นของบรรพชิต จะเป็นศีล
ของคฤหัสถ์หรือศีลของบรรพชิตก็ตามแต่ สิกขาบทแม้ข้อเดียวใน
เบื้องต้น หรือในเบื้องปลายของศีลเหล่าใดไม่แตก ศีลเหล่านั้นชื่อว่า
อขัณฑะ เพราะไม่ขาดเหมือนผ้าอันขาดที่ชาย
สิกขาบทแม้ข้อเดียวในท่ามกลางของศีลเหล่าใดไม่แตก ศีล
เหล่านั้นชื่อว่า อัจฉททะ เพราะไม่ทะลุเหมือนผ้าทะลุกลางผืน
สิกขาบท ๒ หรือ ๓ ข้อ โดยลำดับของศีลเหล่าใดไม่แตก ศีล
เหล่านั้นชื่อว่า อสพละ เพราะไม่ด่างเหมือนแม่โคซึ่งมีสีตัวดำหรือแดง
เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง มีสีที่ตัดกับสีตัวมีสัณฐาน (ต่างๆ) เช่น
ยาวหรือกลม ผุดขึ้นที่หลังบ้างที่ท้องบ้างฉะนั้น
๑.
มหาฎีกาท่านแนะให้ประกอบ อโห วต เม สีลานิ ทุกบท
๒. มหาฎีกาว่า วิสทิสุทาหรณ์ เจต นี่เป็นอุทาหรณ์ไม่เสมอ คือตัวความมีปฏิเสธว่า
"ไม่ขาด" แต่อุทาหรณ์ไม่มีปฏิเสธว่า "เหมือนผ้าอันขาดที่ชาย" และว่า เอว
เสสานปี อุทาหรณานิ อุทาหรณ์ข้อต่อ ๆ ไปก็อย่างเดียวกัน