ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 38
น้ำที่อาจารย์ตักมาไซร้ ก็เป็นการไม่สมควร ต่อท่านบอกว่า " ล้างเถิด
อาวุโส น้ำนั่นมิใช่ฉันตักมา คนอื่นตักดอก " ดังนี้แล้ว จึงไปนั่งในที่ๆ
อาจารย์มองไม่เห็น จะเป็นที่ว่างอันมีสิ่งปิดบัง หรือว่ากลางแจ้ง
ทางท้ายๆ วัดก็ได้ ล้างเท้าเถิด ถ้าอาจารย์นำกระโหลกน้ำมัน
( มาให้ ) จึงลุกขึ้นรับโดยเคารพด้วยมือทั้ง ๒ เพราะถ้าเธอไม่รับ
กะโหลกน้ำมันนั้น อาจารย์จะเกิดความกินแหนงว่า " ภิกษุนี้ทำสมโภค
(การใช้ร่วมกัน ) ให้เสียไปตั้งแต่บัดนี้เทียวนะ " แต่ครั้นรับมาแล้ว
ก็ไม่ควรทาเท้าเข้าก่อนทีเดียว เพราะถ้าน้ำมันนั้น จะพึงเป็นน้ำมัน
สำหรับชะโลมตัวอาจารย์ไซร้ ก็จะเป็นการไม่สมควรไป เพราะฉะนั้น
พึงทาศีรษะก่อน แล้วจึงทาอวัยวะอื่นมีคอเป็นต้น (ต่อไป) ต่อท่าน
บอกว่า " อาวุโส น้ำมันนี่เป็นน้ำมันสำหรับใช้ได้ทุกอย่าง ทาเท้าก็ได้ "
ดังนี้ จึงแตะที่ศีรษะหน่อยหนึ่ง ต่อนั้นจึงทาเท้า (เสร็จ ) แล้ว พึงเรียน
( ท่าน ) ว่า จะเก็บกะโหลกน้ำมัน (ที่ไหน เพื่อท่านจะได้ชี้ที่เก็บให้
แต่ ) เมื่ออาจารย์รับเอาไป ( จะเก็บเอง) ก็ให้ ( ท่าน) ไปเถิด
ไม่ควรเร่งเร้าให้ท่านบอกกรรมฐานให้ตั้งแต่วันที่มาถึง แต่ว่า
ตั้งแต่วันที่สองไป ถ้า ( ภิกษุ) อุปัฏฐากประจำของอาจารย์มีอยู่
จึงขอกะเธอ ทำวัตร ( อาจารย์บ้าง ) ถ้าแม้ขอแล้ว เธอไม่ยอมให้
ก็พึงคอยทำเมื่อได้โอกาสก็แล้วกัน ก็แลเมื่อจะทำ จึงน้อมถวายไม้
ชำระฟันทั้ง ง ๓ ขนาด คือขนาดเล็กขนาดกลางและขนาดใหญ่ น้ำล้าง
หน้าและน้ำอาบเล่า ก็พึงจัดถวายทั้ง ๒ อย่าง คือ อย่างเย็น อย่างอุ่น
อาจารย์ใช้ไม้ชำระฟันและน้ำ (อย่าง) ใดตลอดสามวัน ต่อนั้นไป