วิสุทธิมรรค: การภาวนาในเตโชและวาโยกสิณ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 197
หน้าที่ 197 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงการทำสมาธิในเตโชกสิณและวาโยกสิณ โดยอธิบายนิมิตที่เกิดขึ้นจากการภาวนา รวมถึงการใช้ไฟและลมในกระบวนการทำสมาธิ อธิบายถึงการปรากฏแห่งอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตที่มีลักษณะเฉพาะ การภาวนาในระดับต่าง ๆ ของพระโยคาวจร เมื่อทำการภาวนาอย่างถูกต้อง นิมิตทั่วไปรวมถึงผลและประโยชน์จะปรากฏชัดเจน และทำให้บรรลุฌานแบบต่าง ๆ ตามที่ระบุในวิสุทธิมรรค

หัวข้อประเด็น

- การภาวนาในเตโชกสิณ
- การภาวนาในวาโยกสิณ
- นิมิตในไฟและลม
- การบรรลุอุปจารฌาน
- ปฏิภาคนิมิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 195 ของมัน ตั้งจิตไว้ในบัญญัติธรรม (คือโลกโวหาร ) ตามที่เป็นคำใช้ กันมาก ภาวนา เตโช เตโช โดยที่เป็นนามเด่นในบรรดานาม ของไฟทั้งหลาย เช่น ปาวโก กณหวตตนิ ชาตเวโก หุตาสโน เมื่อเธอภาวนาไปอย่างนั้น นิมิตทั้ง ๒ ย่อมจะเกิดขึ้นตามนัยที่กล่าว แล้วนั้นโดยลำดับ อุคคหนิมิตในเตโชกสิณนั้น ปรากฏเป็นเช่นกับ เปลวไฟขาดตกลงไปๆ แต่สำหรับผู้ถือเอา (นิมิต) ในไฟที่มิได้แต่ง กสิณ โทษย่อมจะปรากฏ คือ ท่อนฟืนบ้าง ก้อนถ่านบ้าง เถ้าบ้าง ควันบ้าง ย่อมปรากฏ (ส่วน ) ปฏิภาคนิมิตปรากฏนิ่ง ดุจท่อนผ้า กัมพลแดงที่วางไว้ในอากาศ และดุจพัดใบตาลสีทองดุจเสาทอง ฉะนั้น พร้อมกับความปรากฏแห่งปฏิภาคนิมิตนั้นแหละ พระโยคาวจร นั้นก็จะบรรลุอุปจารฌาน และจตุตกฌาน ปัญจกฌาน โดยนัยที่กล่าว แล้วนั้นแล เตโชกสิณ จบ [วาโยกสิณ] พระโยคาวจรแม้นใคร่จะเจริญวาโยกสิณ จึงถือเอานิมิตในลม ก็แลนิมิตในลมนั้น จึงถือเอาได้ทางเห็นบ้าง ทางถูกต้องบ้าง เพราะคำ (ต่อไป ) นี้ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลายว่า " พระโยคาวจรผู้จะขึ้น เอาวาโยกสิณย่อมถือเอานิมิตในลม คือกำหนดเอายอดอ้อยที่ไหว ไปมา หรือกําหนดเอายอดไผ่ หรือยอดไม้ หรือปลายผมที่ไหวไปมา ก็ได้ กำหนดเอาลมอัน ( พัดมา ) ต้องที่กายก็ได้ " ดังนี้ เพราะเหตุนั้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More