ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 28
หน้าที่ 28 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาได้กล่าวถึงการสนทนาระหว่างพระเทวเถระผู้เป็นมิชฌิมภาณกะกับพระเทวะเถระชาวมลัย เกี่ยวกับความสำคัญของกรรมฐานและการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา โดยยกตัวอย่างการตั้งใจเรียนรู้และทำความเพียรของพระมิชฌิมภาณกะที่ไม่เหลียวแลปริยัติหรือคำสอนอย่างน้อย 20 ปี แต่ยังสามารถรักษาความรู้ได้ดี มาให้ข้อคิดเกี่ยวกับความสำคัญของการมีสมาธิและความพยายามในทางธรรม ตามแนวทางที่ส่งเสริมการเรียนรู้และการปฏิบัติที่ถูกต้อง แม้จะเป็นในยุคที่มีการพิมพ์พระไตรปิฎกแล้วก็ตามซึ่งทำให้ไม่ต้องท่องจำมากมายเช่นก่อนหน้านี้

หัวข้อประเด็น

-กรรมฐาน
-พระพุทธศาสนา
-การสั่งสมความรู้ในปริยัติ
-การบรรลุพระอรหัต
-มัชฌิมนิกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - 1 เหล่านี้ (เป็นนิทัศนะ) ในความที่คันถะไม่เป็นปลิโพธสำหรับภิกษุผู้ไม่ ขวนขวาย ได้ยินมาว่า พระเทวเถระผู้เป็นมิชฌิมภาณกะ ( สวดมัชฌิม นิกาย) ไปสู่สำนักของพระเทวะเถระชาวมลัยขอ ( เรียน ) กรรมฐาน พระเถระถามว่า อาวุโส ท่านเป็นผู้ ( ได้) ขนาดไหนในปริยัติ พระ มิชฌิมภาณกะตอบว่าท่านผู้เจริญ มัชฌิมนิกาย ข้าพเจ้าชำนาญ พระเถระกล่าวว่า อาวุโส อันมัชฌิมนิกายนั้นบริหารยาก เมื่อสาธยาย มูลปัณณาสกะ มัชฌิมปัณณาสกะก็มา (คละ) สาธยายมัชฌิม ปัณณาสกะเล่า อุปริปัณณาสกะก็มา (ปน) ( เมื่อยุ่งอยู่ไม่รู้จบเช่นนั้น ) ที่ไหนกรรมฐานจักมีแก่ท่านได้เล่า พระมิชฌิมภาณกะปฏิญญาว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้กรรมฐานในสำนักของพระคุณท่านแล้ว จัก ไม่เหลียวแล (คันถะนั้น) ต่อไปละ ดังนี้แล้ว รับเอากรรมฐาน( ไป ทำความเพียร ) มิได้ทำการสาธยายถึง ๑๕ ปี ต่อปีที่ ๒๐ ได้บรรลุ พระอรหัตแล้ว (วันหนึ่ง ) กล่าวแก่ภิกษุทั้งหลายผู้พากันมาเพื่อจะ สาธยาย ( สอบ ) ว่า อาวุโสทั้งหลาย เมื่อเรามิได้เหลียวแลปริยัติมา ถึง ๒๐ ปี แต่ว่าเรามีการสั่งสมได้ทำไว้ในปริยัตินั้น เชิญท่าน | ) ทั้งหลายเริ่ม ( สาธยายไป ) เถิด ( เมื่อภิกษุเหล่านั้น สาธยายไป ปรากฏว่า ท่านยังจำปริยัตินั้นได้ดี) ท่านมิได้มีความเคลือบแคลงแม้ หน้าที่ 27 * มหาฎีกาว่า ที่เป็นเช่นนั้น เพราะหลงสุตตปเทส (ตำแหน่งพระสูตร ? ) และวาน (ตอน) ซึ่งคล้าย ๆ กันก็มี ( ทำให้สาธยายเวียนวนไป จบไม่ลง ?) เรื่องอย่างนี้ พวกเราไม่ใคร่จะเข้าใจ เพราะเราเกิดมาในสมัยที่พระไตรปิฎกพิมพ์ เป็นเล่มสมุดแล้ว ไม่มีความจำเป็นจะต้องท่องจำมากมายเช่นนั้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More