การวิเคราะห์พระผู้มีพระภาคเจ้าในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 280
หน้าที่ 280 / 324

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงลักษณะของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยนำเสนอความหมายที่ซ่อนอยู่ในคาถา ภายใต้การอธิบายของพระสังคีติกาจารย์ ซึ่งมีการใช้คำบาลีเช่น ภควา, ภาคี, และ บัณฑิต เพื่อสร้างความเข้าใจในธรรมะที่แท้จริง นอกจากนี้ยังอธิบายถึงภาวนา 4 ประการ ได้แก่ การอบรมกาย, อบรมศีล, อบรมจิต และอบรมปัญญา ซึ่งเสริมสร้างความรู้และการเข้าใจในธรรมะให้กับผู้ศึกษา สามารถนำไปสู่การปฏิบัติและการเข้าถึงธรรมชาติแห่งความรู้.

หัวข้อประเด็น

- พระผู้มีพระภาคเจ้า
- พระสังคีติกาจารย์
- การอธิบายคาถา
- ลักษณะธรรมะ
- ภาวนา 4 ประการ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 278 นั้น พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าว ( เป็น คาถานี้ไว้ว่า " ' พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงพระนามว่า ภควา เพราะทรงเป็น ( ภคี ) ผู้มีภคะ ( คือโชค) เพราะเป็น( ภชี ) ผู้เสพ ( ที่สงัด ) เพราะเป็น ( ภาคี ) ผู้มีภาค (คือมีส่วนควรได้รับจตุปัจจัย หรือมีส่วนแห่งธรรม ) เพราะเป็น ( วิภตฺตวา ) ผู้จำแนก ( ธรรม ) เพราะได้ทรงทำภัคคะ ( คือการหักกิเลสบาปธรรม ) เพราะทรงเป็นครู เพราะทรงเป็นภาคยะ ( คือบุญบารมี ) เพราะทรง เป็น (สุภาวิตตฺตะ ) ผู้อบรมพระองค์ดีแล้ว ด้วย ญายธรรมเป็นอันมาก เพราะเป็น ( ภวนฺตคะ ) ผู้ถึงที่สุดแห่งภพ " ก็แลอรรถาธิบายแห่งบทนั้นๆ ในคาถานั้น บัณฑิตจึงเห็นตามนัย แห่งบาลีที่กล่าวในนิเทสนั้นเถิด ส่วนนัย (ต่อไป) นี้ เป็นอีกนัยหนึ่งคือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็น ( ภาคุยวา ) ผู้มี ภาคยะ เป็น ( ภคควา) ผู้หัก และเป็น ๑. วทนฺติ มีปัญหาว่าใครเป็นผู้กล่าว มหาฎีกาว่า วทนตีติ มหาเถรสฺส ครุภาวโต พหุจเนนาห์ สงฺคีติกาเรหิ วา กตมนุวาท สนธายะ" ท่าน (ผู้แต่งวิสุทธิมรรค) กล่าว เป็นพหุวจนะว่า วทนฺติ เพราะความเคารพพระมหาเถระ (ธรรมเสนาบดี) หรือมิฉะนั้น กล่าวมุ่งเอาแนวคำที่พระสังคีติการทั้งหลายแต่งไว้ (ให้เป็นคำของพระสังคีติการไป)" ในที่นี้แปลตามนัยหลัง ๒. มหาฎีกาว่า สุภาวิตตฺตโน เป็นฉัฏฐีวิภัติในอรรถแห่งปฐมาวิภัติ ส่วนญายะ ท่านว่า หมายเอาภาวนา (การอบรม) ซึ่งในนิเทศกล่าวไว้ ๔ คืออบรมกาย อบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More