วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 63
หน้าที่ 63 / 324

สรุปเนื้อหา

ในส่วนนี้ของวิสุทธิมรรคได้กล่าวถึงการฝึกกรรมฐานที่มีจำนวน 10 ข้อ ได้แก่ อนุสสติ 10 จำแนกเป็นพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ ฯลฯ พร้อมอธิบายถึงพรหมวิหาร 4 อรูป 4 และการวินิจฉัยในการนำกรรมฐานมาใช้อย่างเหมาะสมว่าสามารถถึงอุปจารฌานหรืออัปปนาฌานตามที่กำหนดไว้ ซึ่งเนื้อหานี้สำคัญสำหรับผู้ฝึกเพื่อเข้าใจระดับของสมาธิอย่างลึกซึ้ง โดยมุ่งหวังพัฒนาจิตให้เข้มแข็งและนิ่งสงบ

หัวข้อประเด็น

-อนุสสติ 10
-พรหมวิหาร 4
-กรรมฐาน
-สมาธิขั้นพื้นฐาน
-การวินิจฉัยกรรมฐาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที 61 วิกขายตกะ วิกขิตตกะ หตวิจิตตกะ โลหิตกะ ปุฬวกะ อัฏฐิกะ นี้อนุสสติ ๑๐ คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ มรณานุสสติ กายคตาสติ อานาปานสติ อุปสมนานุสสติ นี้พรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา นี้อรูป ๔ คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญ จัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ชื่อว่า สัญญา ๑ จตุธาตุววัฏฐาน ชื่อ ว่า ววัฏฐาน ๑ แล บัณฑิต พึงทราบวินิจฉัยโดยแสดงจำนวน ดังนี้ [อุปจารปปนาวหโต บทว่า " โดยเป็นกรรมฐานนำมาได้เพียงอุปจารฌานหรือถึง อัปปนาฌาน " มีวินิจฉัยว่า ก็ในกรรมฐานเหล่านั้น กรรมฐาน ๑๐ ข้อ คือ อนุสสติ เว้นกายคตาสติ และอานาปานสติ เหลือ 4 อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัฏฐาน ๑ นี้เท่านั้นเป็นอุปจารา วหะ ( เป็นกรรมฐานนำมาได้เพียงอุปจารฌาน ) กรรมฐานนอกนั้น เป็นอัปปนาวหะ ( นำมาได้ถึงอัปปนา ) แล พึงทราบวินิจฉัย โดยเป็นกรรมฐานนำมาได้เพียงอุปจารฌาน หรือถึงอัปปนาฌาน ดังนี้แล
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More