ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 304
บทว่า อาหวนียะ นี้นั้นเป็นคำในนิกายอื่น” โดยอรรถก็อันเดียวกัน
บทว่า อาหุเนยยะ นี้ในที่นี้ แต่ใน ๒ บทนี้ ต่างกันนิดหน่อยโดย
พยัญชนะเท่านั้น พระสงฆ์เป็น อาหุเนยยะ ด้วยประการฉะนี้
[แก้บท ปาหุเนยโย]
ส่วนในบทว่า ปาหุเนยฺโย ( พึงทราบวินิจฉัยต่อไปนี้ ) อาคัน
ตุกทาน ( ของรับแขก ) ที่เขาจัดอย่างเครื่องสักการะ (คือจัดอย่างดี)
เพื่อประโยชน์แก่ญาติและมิตรทั้งหลายที่รักที่ชอบใจ อันมาแต่ทิศใหญ่
น้อย เรียกว่า ปาหนะ แม้อาคันตุกทานนั้น เว้นญาติมิตรที่รัก
ที่ชอบใจเหล่านั้นและแขก (อื่น) อันมีฐานะอย่างนั้นเสีย ก็ควรถวาย
แก่พระสงฆ์เท่านั้น พระสงฆ์เท่านั้นควรรับอาคันตุกทานนั้น เพราะว่า
แขก (ผู้ทรงคุณ ) เช่นดังพระสงฆ์หามีไม่ จริงอย่างนั้น พระสงฆ์นั่น
ต่อพุทธันดรหนึ่งจึงจะได้พบ” และท่านประกอบด้วยธรรมทั้งหลายที่ทำ
ความที่เป็นที่รักที่ชอบใจล้วนๆ ด้วย พระสงฆ์ชื่อว่า ปาหุเนยยะ เพราะ
ของรับแขกควรถวายแก่ท่าน และท่านก็ควรรับของรับแขก ดังนี้แล
ส่วนบาลีของชนเหล่าใดว่า ปาหวนีโย บาลีของชนเหล่านั้นมี
อธิบายว่า เพราะเหตุที่พระสงฆ์ย่อมควรซึ่งบุพการ ( การทำให้ก่อน)
เพราะฉะนั้น ทานวัตถุ บุคคลควรนำมาบูชาในพระสงฆ์นั้นก่อนใคร
หมด เหตุนั้นพระสงฆ์จึงชื่อ ปาหวนียะ ( ผู้ที่ควรนำของมาบูชา
ก่อน ) นัยหนึ่ง พระสงฆ์ควรซึ่งอาหวนะโดยประการทั้งปวงเหตุนั้น
ด. มหาฎีกาว่า หมายถึงนิกายสัพพัตถิกวาที
๒. มหาฎีกาแถมว่า บางทีตั้งอสงไขยกัปจึงจะได้พบ