ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 45
ส่วนความต่อไปนี้ เป็นวินิจฉัยตามแนวมติของอรรถกถาจารย์
ทั้งหลาย ในปัญหาว่าจริยาทั้งหลายมีอะไรเป็นต้นเหตุนั้น แท้จริง
ใน อุสสทกิตตนะ (ตอนว่าด้วยความหนาในวิปากกถา ) ท่านกล่าว
คำนี้ไว้ว่า สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ โดยนิยามแห่งเหตุในปางก่อน ย่อม
เป็นผู้หนาด้วยโลภะก็มี หนาด้วยโทสะก็มี หนาด้วยโมหะก็มี มาก
ด้วยอโลภะก็มี มากด้วยอโทสะก็มี มากด้วยอโมหะก็มี จริงอยู่
ในขณะพยายามทำกรรม ผู้ใดมีโลภะกล้า อโลภะอ่อน (แต่ว่า)
อโทสะอโมหะกล้า โทสะ โมหะเบาอโลภะอันอ่อนของบุคคลนั้นย่อม
ไม่อาจข่มโลภะได้ แต่อโทสะ โมหะกล้าย่อมอาจข่มโทสะโมหะได้
เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ( เมื่อ ) เกิดมาด้วยอำนาจปฏิสนธิที่กรรมนั้น
อำนวย ย่อมเป็นคนโลภ ( แต่ ) เป็นคนใจเย็น ไม่มักโกรธ
ฉลาดหลักแหลมราวกะเพชร ส่วนบุคคลใด ในขณะพยายามทำ
กรรม มีโลภะและโทสะกล้า อโลภะอโทสะอ่อน แต่อโมหะกล้า
โมหะเบา บุคคลนั้น โดยนัยก่อนนั่นแล (คือเกิดมาด้วยอำนาจ
ปฏิสนธิที่กรรมนั้นอำนวย) ย่อมจะเป็นคนโลภด้วย เป็นคนฉุนเฉียว
ด้วย แต่ว่าเป็นคนฉลาดหลักแหลมราวกะเพชร ดุจพระทัตตาภัยเถระ
ฉะนั้น บุคคลใด ในขณะพยายามทำกรรม มีโลภะและโมหะกล้า
นอกนั้นอ่อน บุคคลนั้น โดยนัยก่อนเหมือนกัน ย่อมเป็นคนโลภด้วย
เป็นคนทึบด้วย แต่เป็นคนใจเย็น ไม่มักโกรธ โดยนัยนั้น บุคคลใด
ในขณะพยายามทำกรรม มีโลภะโทสะโมหะกล้าทั้ง ๓
- ฝ่ายอกุศล
*
สุขสีโล มหาฎีกาแก้เป็น สุขิโล (อ่อนหวาน ?)