ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 133
อนึ่ง แม้เมื่อธรรมทั้งหลายอื่นเป็นอกุศลมีอยู่ (แต่) นิวรณ์ทั้งหลาย
เท่านั้น ท่านกล่าวไว้ในวิภังค์โดยนัยว่า " ตตฺถ กาเม อกุสลา ธมฺมา
กามจฺฉนฺโท " ดังนี้เป็นต้น โดยแสดงความที่มันเป็นปฏิปักษ์ต่อองค์
ฌาน อันจะกล่าวข้างหน้า ซึ่งเป็นข้าศึก ( ของมัน ) มีคำอธิบายว่า
" เพราะนิวรณ์ทั้งหลายเป็นข้าศึกต่อองค์ฌาน องค์ฌานเล่าก็เป็น
ข้าศึก คือเป็นเครื่องกำจัดนิวรณ์เหล่านั้น " จริงอย่างนั้น ข้อนี้พระ
มหากัจจานเถระกล่าวไว้ในคัมภีร์เปฎกะว่า " สมาธิเป็นปฏิปักษ์ต่อ
กามฉันท์ ปีติเป็นปฏิปักษ์ต่อพยาบาท วิตกเป็นปฏิปักษ์ต่อถีนมิทธะ
สุขเป็นปฏิปักษ์ต่ออุทธัจจกุกุจจะ วิจารเป็นปฏิปักษ์ต่อวิจิกิจฉา"
ดังนี้ โดยนัยที่กล่าวมาฉะนี้ ในปาฐะ ๒ บทนั้น ( วิกขัมภนวิเวก )
ความสงัดด้วยข่มไว้ได้ซึ่ง
ซึ่งกามฉันท์ เป็นอันกล่าวด้วยบทแรกนี้ คือ
" วิวิจฺเจว กาเมหิ " ความสงัดด้วยข่มไว้ได้ซึ่งนิวรณ์ทั้ง ๕ เป็น
อันกล่าวด้วยบทที่ ๒ นี้ คือ " วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ "
*
แต่ (เมื่อว่า ) โดยการถือเอาข้อที่ยังมิได้ถือเอา” บัณฑิต
พึงทราบว่า " ความสงัดด้วยข่มไว้ได้ซึ่งกามฉันท์เป็นอันกล่าวด้วยบท
แรก ความสงัดด้วยข่มไว้ได้ซึ่งนิวรณ์ที่เหลือเป็นอันกล่าวด้วยบทที่ ๒
อุปริ ฌานครน ในมหาฎีกาเรียงติดกันเป็นบทสมาส และตั้งวิเคราะห์ไว้ด้วยว่า
อุปริ วุจจมานาน ฌานคามิ อุปริฌานคานิ
๑. อคฺคหิตคฺคหเณ หมายความว่า เท่าที่จำแนกธรรมอันควรเป็นความหมายแห่งปาฐะ
ทั้ง ๒ ได้มาแล้วนั้น ยังไม่สิ้นกระแสความที่ควรจะจำแนก ยังมีข้อที่ควรถือเอานียะ
มากล่าวได้อีก ดังต่อไปนั้น (?)