ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 212
ก็แลเมื่อจะไป พึงบอกพระสังฆเถระ หรืออภิญญาตภิกษุ ( ภิกษุ
ผู้มีชื่อเสียง) อื่นแล้วจึงไป ถามว่า เพราะเหตุอะไร ? ตอบว่า
เพราะหากว่าเมื่อเธอถูกอนิฏฐารมณ์ เช่นรูปร่างและเสียงแห่งสัตว์ร้าย
ทั้งหลายมีอมนุษย์ และสีห์เสือเป็นอาทิในป่าช้าครอบงำเอา (จน )
องคาพยพ ( หนาว )สั่นไปก็ดี” (ขวัญหนี ) ของที่บริโภคแล้วไม่อยู่ ( ในท้อง )
ก็ดี อาพาธเป็นอย่างอื่น (อีก) ก็ดี ( ไม่สามารถจะเดินกลับมาวิหาร
ได้ ) ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านที่เธอบอกนั้นก็จัก (ช่วย) เก็บงำ
บาตรจีวรของเธอไว้ให้อย่างดีในวิหารจักส่งพวกภิกษุหนุ่มบ้าง
สามเณรบ้าง ไปช่วยปรนนิบัติ (พยาบาล) ภิกษุนั้น อีกประการหนึ่ง
พวกโจรสำคัญว่า ป่าช้านั่นเป็นที่ไม่ต้องระแวง (ว่าจะมีคนรู้เห็น )
( มันไป ) ทำการมาแล้วก็ดี ยังมิได้ทำการก็ดี จึงมามั่วกันอยู่ (ในนั้น)
มัน ( ไปทำการมาแล้ว ) ถูกคนทั้งหลายตามมาทันเข้าก็จะทิ้งห่อของไว้
ใกล้ๆ ภิกษุแล้วหนีไปเสียก็ได้คนทั้งหลาย (เห็นของตกอยู่ใกล้ภิกษุ)
ก็จะสำคัญว่า " พวกเราพบโจรพร้อมทั้งของกลาง " แล้วจับภิกษุไป
ทรมาน ทีนั้นท่านที่เธอบอก ( ทราบเข้า ) ก็จัก ( ไปช่วย) อ้อนวอน
ว่า " ท่านทั้งหลายอย่าทรมานภิกษุนี้เลย เธอบอกข้าพเจ้าแล้วจึงไป
ทำงานอันนี้ดอก " ( ชี้แจง ) ให้คนเหล่านั้นเข้าใจถูกแล้ว ทำความ
"
J
สวัสดีให้แก่เธอได้ นี่เป็นอานิสงส์ในการบอกแล้วจึงไป
๑.
ข้อนี้ ตรงกับที่เราพูดกันว่า "ขวัญหนี" อาการสั่นนั้นเข้าใจว่าถึงกับจับไข้ทีเดียว
ไม่ใช่สั่นพอดีพอร้าย.
๒. ข้อนี้ตรงกับ "ดีฝ่อ" น้ำย่อยอาหารเสีย อาหารที่กินแล้วไม่ย่อยหรือย่อยไม่หมด
เกิดเป็นพิษ