ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที 132
ฉันเดียวกันนั่นแล ใน ๒ ปาฐะนั้น การละวัตถุแห่งสังกิเลสเป็นอัน
ประกาศด้วยปาฐะที่ ๑ การละตัวสังกิเลสประกาศด้วยปาฐะที่ ๒ การ
สละเหตุแห่งโลลภาพ ( ความละโมบ ) ประกาศด้วยปาฐะที่ ๑ การสละ
เหตุแห่งพาลภาพ ( ความโง่เขลา ) ประกาศด้วยปาฐะที่ ๒ และ
ปโยคสุทธิ (ความหมดจดแห่งความเพียรพยายาม ) ประกาศด้วยปาฐะ
ที่ ๑ อาสยโปสนะ (ความกล่อมเกลาอัชฌาสัย) ประกาศด้วยปาฐะที่ ๒
ในกามที่กล่าวในบทว่า " กาเมหิ " นั้น นี้เป็นนัยะในฝ่ายวัตถุกามก่อน
ส่วนในฝ่ายกิเลสกาม ท่านมุ่งเอากามฉันท์ ซึ่งมีหลายประเภท
โดยชื่อว่า 'ฉันทะ' ก็มี ว่า 'ราคะ" ก็มีดังนี้เป็นอาทินั่นเองว่า 'กาม'
ก็แลกามฉันท์นั้น แม้เป็นโทษที่นับเนื่องในอกุศล (แต่) ท่านกล่าวไว้
ต่างหาก โดยเป็นข้าศึกแห่งฌาน ในวิภังค์ โดยนัยว่า " ตตฺถ กตเม
กามา ฉนฺโท กาโม " ดังนี้เป็นต้น อีกนัยหนึ่ง กามฉันท์นั้น
นับว่ากล่าวในบทแรก เพราะมันเป็นกิเลสกาม นับว่ากล่าวในบทที่ ๒
เพราะมันนับเนื่องในอกุศล และเพราะมันมีหลายประเภทจึงไม่ตรัส
( เป็นเอกพจน์ ) ว่า กามโต (แต่) ตรัส ( เป็นพหุพจน์ ) ว่า กาเมหิ
* มหาฎีกาว่า (๑) โลลภาพ คือความเกิดแห่งตัณหาในอารมณ์นั้นๆ
เหตุแห่งโลลภาพ ก็คือวัตถุกามนั่นเอง (๒) พาลภาพ คือ อวิชชาหรือความคิดชั่ว
เหตุแห่งพาลภาพ คือ อโยนิโสมนสิการหรือ อกุศลธรรมทั้งปวง (๓) กิริยาที่บุคคล
ประกอบอกุศลมีปาณาติบาตเป็นต้น เนื่องด้วยกามคุณเป็นเหตุ เรียกว่า อสุทธประโยค
ความสงัดจาก อุสทธประโยคนั้น เรียกว่า ปโยคสุทธิ (๔) การชำระอัชฌาสัย โดยทำ
ให้สะอาดจากสังกิเลสคือตัณหา และโดยทำให้เจริญด้วยอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะเรียกว่า
อาสยโปสนะ