วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 227 วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 229
หน้าที่ 229 / 324

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการปฏิบัติกรรมฐานของพระภิกษุ เมื่อเผชิญคำถามจากผู้อื่น ควรมีแนวทางที่ถูกต้องในการตอบและปฏิสันถาร โดยไม่ควรหลงไปกับนิมิตที่อาจทำให้เสื่อมสู่วิถีแห่งกรรมฐาน การทำปฏิสันถารที่ชอบธรรมเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อไม่ให้ตัวเองหลงลืมกับวิถีการปฏิบัติหน้าที่ตามที่วัดระบุ เพื่อสืบทอดคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีต่อไป

หัวข้อประเด็น

-กรรมฐาน
-การพิจารณา
-ปฏิสันถาร
-วิถีชีวิตพระภิกษุ
-จริยธรรมการบำเพ็ญ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 227 เสื่อม ) ให้ (กลับ) ดำเนินสู่วิถีเป็นประโยชน์นั้นความว่า การพิจารณา ดูทางไปด้วยทางมาด้วยที่กล่าวแล้วอันใด การพิจารณาอันนั้น มี ประโยชน์ คือยังกรรมฐาน ( ที่เสื่อม ) ให้ดำเนินไปตามวิถีแห่ง กรรมฐาน ความพิสดารว่า ถ้าใครๆ ถามวันกะภิกษุนี้ผู้ถือเอา กรรมฐานได้แล้ว ( กลับ ) มาว่า " ท่านเจ้าข้า วันนี้ดิถีที่เท่าไร " ก็ดี ถามปัญหาก็ดี ทำปฏิสันถารก็ดี ในระหว่างทางไซร้ อันเธอจะนิ่ง ด้วยไว้ตัวว่า ฉันเป็นพระกรรมฐาน (เดิน ) ไปเสีย ก็ไม่ควร จำต้อง บอกวัน ต้องแก้ปัญหา ถ้าไม่รู้ ก็ต้องพูดว่า อาตมาไม่ทราบ ต้องทำ ปฏิสันถารอันชอบธรรม เมื่อเธอมัวทำอยู่อย่างนั้น นิมิตอันอ่อนที่ ติดตามาก็จักเสื่อม แม้เมื่อนิมิตกำลังเสื่อม เธอถูกถามวัน ก็ต้องบอก อยู่นั่น ไม่รู้ปัญหา ก็ต้องพูดว่าอาตมาไม่ทราบ แม้นรู้ก็ชอบที่จะ บอกโดยส่วนเดียว ปฏิสันถารเล่าก็จำต้องทำ อนึ่ง พบภิกษุอาคันตุกะ ก็ต้องทำอาคันตุกปฏิสันถารอยู่นั่นแหละ แม้วัตรที่ยังเหลือ คือวัตร อันมาในขันธกวินัยทั้งหลายทั้งปวง มีเจติยังคณวัตร (วัตรอันพึงบำเพ็ญ ที่ลานพระเจดีย์ ) โพธิยังคณวัตร (วัตรอันพึงบำเพ็ญที่ลานต้นโพธิ์ ) อุโปสถาคารวัตร (วัตรอันพึงบำเพ็ญที่เรือนอุโบสถ) โภชนสาลาวัตร (วัตรอันพึงบำเพ็ญที่หอฉัน) ชั้นตาฆรวัตร (วัตรอันพึงบำเพ็ญใน เรือนไฟ ) อาจริยวัตร (วัตรอันพึงบำเพ็ญต่ออาจารย์ ) อุปัชฌายวัตร (วัตรอันพึงบำเพ็ญต่ออุปัชฌาย์ อาคันตุกวัตร (วัตรอันพึงบำเพ็ญต่อ อาคันตุกะ ) คมิกวัตร (วัตรอันพึงบำเพ็ญต่อภิกษุผู้เตรียมจะไป) เป็นต้นก็จำต้องบำเพ็ญทั้งนั้น แม้เมื่อเธอมัวบำเพ็ญวัตรเหล่านั้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More