วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - อุปนยะและอุปเนยย วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 299
หน้าที่ 299 / 324

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้กล่าวถึงแนวทางและวิเคราะห์ธรรมที่เรียกว่า อุปนยะ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการนำธรรมเข้าสู่จิตใจ ทำให้บุคคลรู้แจ้งถึงความจริงในพระนิพพาน ซึ่งอาจจะไม่สามารถได้จากเครื่องประดับภายนอก หรืออาจจะพบว่า การเข้าถึงผลสัมฤทธิ์นั้น เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ภายในจิตใจของตนเองเท่านั้น ความเข้าใจนี้เป็นส่วนสำคัญของโลกุตตรธรรมที่ต่อยอดนำไปสู่ความสุขสงบอย่างแท้จริงในระยะยาว สำหรับวิญญูชนที่มีการเจริญมรรค

หัวข้อประเด็น

-อุปนยะและอุปเนยย
-ธรรมในจิตใจ
-การเข้าใจโลกุตตรธรรม
-การบรรลุพระนิพพาน
-การเจริญมรรค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 297 เป็นวินิจฉัยในบทนี้ คือการนำเข้าไป ชื่อ อุปนยะ ธรรมย่อมควร ซึ่งการที่บุคคลแม้ผ้าหรือศีรษะไฟไหม้ก็เฉย (คง) นำเข้าไปในจิตของ ตน ๆ โดยทำให้มีขึ้นจนได้ เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อ อุปนยิกะ อุปนิยกะนั้นเองเป็นโอปนยิกะ คำวิเคราะห์นี้ใช้ได้ในโลกุตตรธรรม ที่เป็นสังขตะ ส่วนในโลกุตตรธรรมที่เป็นอสังขตะ (วิเคราะห์ว่า) ธรรมนั้นควรซึ่งการนำเข้าไปด้วยจิต เหตุนั้นจึงชื่อ โอปนยิกะ หมายความว่าควรซึ่งการผนึกเข้าโดยทำให้แจ้ง หรือมิฉะนั้น ธรรม คือ ) อริยมรรค ชื่อว่า อุปเนยย เพราะนำ ( พระอริยบุคคล) เข้าไป ถึงพระนิพพาน ธรรมคือผล แลพระนิพพานชื่อว่า อุปเนยฺย เพราะ เป็นธรรมที่บุคคลพึงนำเข้าไปถึงความที่จะพึงทำให้แจ้ง โอปนยิกะ ก็ อุปเนยฺย นั่นเอง (แก้บท ปจฺจตฺติ เวทิตพฺโพ วิญญูหิ บทว่า ปจฺจตฺติ เวทิตพฺโพ วิญญูหิ ความว่า อันวิญญูชน ทั้งหลายมีอุคฆติตัญญูบุคคลเป็นต้นทั้งปวงจึง "รู้ว่า " มรรค เราเจริญแล้ว ผลเราบรรลุแล้ว นิโรธเราทำให้แจ้งแล้ว " เพราะว่า กิเลสทั้งหลายของสัทธิวิหาริกจะละด้วยมรรคที่พระอุปัชฌายะเจริญ หาได้ไม่ เธอจะอยู่เป็นผาสุกด้วยผลสมาบัติของท่านก็ไม่ได้ จะทำให้ แจ้งซึ่งพระนิพพานที่ท่านทำให้แจ้งก็ไม่ได้ เพราะเหตุนั้น จึงมีคำ อธิบายว่า โลกุตตรธรรมนั่น บุคคลไม่พึงเห็นดังเช่นเครื่องประดับที่ ศีรษะของคนอื่น ( ซึ่งจะฉวยเอามาประดับที่ศีรษะของตัวเองได้) แต่พึง ( เห็นว่าธรรมอันวิญญูชนทั้งหลายจะพึงเสวยอยู่ในจิตของตัวเองเท่านั้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More