การเจริญสมาธิและปัญญาในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 15
หน้าที่ 15 / 324

สรุปเนื้อหา

บทนี้สื่อถึงการเข้าใจและเจริญสมาธิตามหลักของวิสุทธิมรรค โดยการเชื่อมโยงสมาธิกับการเจริญปัญญา ทั้งยังอธิบายถึงลักษณะเฉพาะของสมาธิที่ถูกต้องและผลกระทบต่อการเจริญธรรมในระดับต่างๆ ของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้ได้มาซึ่งการบรรลุผลแห่งการปฏิบัติกรรมฐาน โดยยกตัวอย่างศีลและการทำสมาธิเชื่อมโยงกับดุลยภาพ ในการพัฒนาตนและความเชื่อมโยงกับกัลยาณมิตร.

หัวข้อประเด็น

-วิสุทธิมรรค
-การเจริญสมาธิ
-ปัญญา
-อริยมรรค
-ศีลและกรรมฐาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 14 อย่างนั้น หานภาคิยธรรมพึงทราบตามนัยนี้ว่า " สัญญาและมนสิการ อันสหรคตด้วยกามเกิดขึ้นครอบงำบุคคลผู้ได้ปฐมฌาน ปัญญา (ในปฐมฌานนั้น) ก็เป็นหานภาคินี " (ส่วน) วิเสสภาคิยธรรม พึงทราบตามนัยนี้ว่า "สัญญาและมนสิการที่สหรคตด้วยความไม่มี วิตกเกิดขึ้น (ดำเนินไป) ปัญญาก็เป็นวิเสสภาคินี " ดังนี้ [การเจริญสมาธิ] ส่วนคำเฉลยในปัญหาข้อว่า " สมาธินั้นจะพึงเจริญอย่างไร " นี้จึงทราบต่อไปนี้ สมาธิใดอันสัมปยุตด้วยอริยมรรค ที่ข้าพเจ้า กล่าวไว้ก่อนแล้วในทุกสมาธิ มีข้อว่า " นี้สมาธิเป็น ๒ โดยเป็น โลกิยะและโลกุตระ " ดังนี้เป็นอาทิ นัยแห่งการเจริญอริยมรรค สมาธินั้นสงเคราะห์เข้ากับนัยแห่งการเจริญปัญญาได้ทีเดียว เพราะว่า เมื่อเจริญปัญญาแล้ว มรรคสมาธินั้นก็ย่อมเป็นอันเจริญด้วยแท้ เพราะเหตุนั้น เราจะไม่มุ่งเอามรรคสมาธินั้นมากล่าวแยกไว้ ต่างหาก ว่ามรรคสมาธินั้นจะพึงเจริญอย่างนี้ๆ ส่วนว่าสมาธิอันเป็น โลกิยะนี้ใด โลกิยะสมาธินั้น อันพระโยคาวจรผู้ยังศีลทั้งหลายให้หมดจด โดยนัยที่กล่าวแล้ว ตั้งอยู่ในศีลอันบริสุทธิ์ดีแล้ว บรรดาปลิโพธ ๑๐ ประการ ปลิโพธใดของเธอมีอยู่ ตัดปลิโพธนั้นเสียแล้วเข้าไปหาท่าน ผู้ให้กรรมฐานผู้เป็นกัลยาณมิตร ถือเอากรรมฐาน ๔๐ ข้อใดข้อหนึ่ง ซึ่งอนุกูลแก่จริยาของตน ละวิหารอันไม่เหมาะสมแก่การเจริญสมาธิเสีย ๑. อภ.๓๕/๔๔๗ ๒. อภิ.วิ๓๕/๔๔๘
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More