วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - การเข้าใจฌาน วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 160
หน้าที่ 160 / 324

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงนิมิตในฌานและการปรากฏขององค์ฌานที่เกี่ยวข้องกับการฝึกฌาน โดยมีการเปรียบเทียบกับแม่โคที่หากินบนภูเขา ซึ่งไม่รู้จักเขตหรือทิศทางขณะที่พยายามหามุมใหม่ในการหากิน หากปัจจเวกขณ์มากเกินไปจะทำให้องค์ฌานเกิดสภาวะหยาบและลดกำลังลง ซึ่งอาจส่งผลให้ไม่สามารถบรรลุถึงทุติยฌานได้ โดยการฝึกควรให้มีความระมัดระวังและไม่ประมาทในการศึกษาและปฏิบัติ

หัวข้อประเด็น

-การเข้าฌาน
-ผลกระทบของปัจจเวกขณ์
-เปรียบเทียบการเข้าฌาน
-การฝึกฝนฌาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 158 ทีนี้นิมิตนั้นย่อมเป็น ( ปรากฏ) แก่เธอ ดุจหนังโคตัวผู้ที่ถูกสับด้วยขอ ตั้ง ๑๐๐ ( แผล ) ในเพราะที่สูงๆ ต่ำๆ เป็นแม่น้ำเป็นหล่มเลน เป็น ภูเขาขรุขระแห่งแผ่นดินในที่ๆ ขยายไปๆ ก็แลพระอาทิกัมมิกะ ( โยคาวจร ) 1) ผู้ได้ปฐมฌานในเพราะนิมิต นั้นแล้ว พึงเป็นผู้เข้า ( ฌาน ) ให้มาก ไม่พึงปัจจเวกขณ์มาก เพราะ เมื่อเธอปัจจเวกขณ์มากไป องค์ฌานทั้งหลายจะปรากฏเป็นหยาบ และมีกำลังเพลา ทีนี้ เพราะปรากฏเสียอย่างนั้นแล้ว องค์ฌาน เหล่านั้นก็จะไม่สำเร็จเป็นปัจจัยแห่งความขวนขวายในเบื้องสูงของเธอ (ต่อไป ) เธอขวนขวายไปในฌานอันไม่คล่องแคล่ว ( ในการเข้า ก็ กลับ ) จะเสื่อมจากปฐมฌาน และไม่อาจบรรลุทุติยฌานได้เสียด้วย เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า " ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่โคที่หากินบนภูเขา (แต่มัน ) เป็นสัตว์โง่เซอะ ไม่รู้ จักเขต ( ที่จะไปได้ไม่ได้ ) ไม่ฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาอันขรุขระ มันมีความรำพึงไปว่า ไฉนมันจะได้ไปทางทิศที่ไม่เคยไปบ้าง จะ ได้กินหญ้าที่ไม่เคยกินบ้าง จะได้ดื่มน้ำดื่มที่ไม่เคยดื่มบ้าง ดังนี้แล้ว มัน ( จะออกเดินไป) ยังมิได้ตั้งเท้าหน้าให้มั่นยกเท้าหลังขึ้น มัน ( ก็จะพลาด ) ไม่ได้ไปทางทิศที่ไม่เคยไปด้วย ไม่ได้กินหญ้าที่ไม่เคย กินด้วย ไม่ได้ดื่มน้ำที่ไม่เคยดื่มด้วย ทั้งไม่ได้กลับไปสู่ที่ๆ มันยืน รำพึงว่าไฉนมันจะได้ไปทางทิศที่ไม่เคยไป ฯลฯ โดยสวัสดีด้วย นั่น * มหาฎีกาว่า หยาบเพราะปัจจเวกขณ์เสียจนชัด กำลังเพลาเพราะไม่เชี่ยวชาญ (ในการเข้า )
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More