การจำแนกและการแสดงธรรมในพระวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 285
หน้าที่ 285 / 324

สรุปเนื้อหา

ในพระวิสุทธิมรรคมีการจำแนกธรรมโดยการแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ เช่น กุศลธรรม อริยสัจ และการระบุลักษณะต่างๆ เช่น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค โดยมีการประมวลมาในรูปแบบที่ชัดเจน การอธิบายธรรมอย่างลึกซึ้งด้วยอรรถที่เกี่ยวข้องกับสังขตะและเหตุการณ์ในการเข้าถึงพระนิพพานนั้นช่วยให้เข้าใจว่าจะต้องมีการประมวลมา การผูกพันกับทุกข์ และการหน่วงเวลา ก่อนที่จะนับเป็นมรรค อธิปไตยต่างๆ ได้ถูกเน้นย้ำเพื่อเป็นแนวทางในการเข้าใจอริยสัจอย่างถูกต้อง ทั้งนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเสพธรรมที่เป็นทิพวิหารและอริยวิหารอย่างมาก ซึ่งถือเป็นแนวทางการปฏิบัติธรรมที่สำคัญ

หัวข้อประเด็น

-จำแนกธรรม
-อริยสัจ
-กุศลธรรม
-ธรรมอันเป็นทิพวิหาร
-การเข้าถึงพระนิพพาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

( ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 283 อธิบายว่าทรงจำแนก ทรงเปิดเผย ทรงแสดง ซึ่งธรรมทั้งปวง โดย ประเภททั้งหลาย มีประเภทกุศลเป็นต้น หรือว่าซึ่งธรรมมีกุศลธรรม เป็นอาทิ โดยประเภท ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์ และ ปฏิจจสมุบาทเป็นต้น หรือว่าซึ่งอริยสัจคือทุกข์ โดยอรรถ (4) คือ ปีฬนะ ( บีบคั้น ) สังขตะ (อันปัจจัยปรุงแต่ง ) สันตาปะ ( แผดเผา ) วิปริณาม (แปรปรวน ) ซึ่งอริยสัจคือสมุทัย โดยอรรถ (๔) คือ อายูหนะ ( ประมวลมา ซึ่งทุกข์ ) นิทานะ ( เป็นเหตุแห่งทุกข์ ) สังโยคะ ( ผูกไว้กับทุกข์ ) ปลิโพธะ (หน่วงไว้มิให้ถึงมรรค) ซึ่งอริยสัจคือ นิโรธ โดยอรรถ (๔) คือ นิสสรณะ (ออกไปจากทุกข์ ) วิเวก (สงัด จากทุกข์ ) อสังขตะ (อันปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง ) อมตะ ( เป็นสภาพไม่ตาย) ซึ่งอริยสัจคือมรรค โดยอรรถ (๔) คือ นิยยานิกะ ( นำออกจากทุกข์ ) เหตุ ( เป็นเหตุแห่งนิโรธ ) ทัสสนะ ( เป็นเครื่องเห็นแจ้งพระนิพพาน) อธิปไตย ( เป็นใหญ่ในการเห็นอริยสัจ ) เพราะเหตุนั้น เมื่อน่าจะ เรียกว่า พระ วิภตฺตวา ( แต่ ) เรียกเสียว่า พระภควา [แก้บท ภตฺตวา] อนึ่ง เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงคบ คือทรงเสพ ทรงทำให้มาก ซึ่งธรรมอันเป็นทิพวิหาร พรหมวิหาร และอริยวิหาร ซึ่งกายวิเวก จิตวิเวก และอุปธิวิเวก ซึ่งสุญญตวิโมกข์อัปปณิหิต วิโมกข์ และอนิมิตวิโมกข์ และซึ่งอุตตริมนุสสธรรมทั้งที่เป็นโลกิยะ ๑. อรรถแห่งอริยสัจ ๑๖ อย่างนี้ มหาฎีกาท่านเรียก โสฬสาการ (อาการ ๑๖) ๒. ทิพวิหาร ได้แก่รูปาวจรฌาน อริยวิหาร ได้แก่ผลสมาบัติ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More