ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 3
สม่ำเสมอและถูกทาง ด้วยอานุภาพแห่งธรรมใด การตั้งอยู่แห่งจิต
เจตสิก สม่ำเสมอและถูกทาง ด้วยอานุภาพแห่งธรรมนั้น นี้ชื่อว่า
ความตั้งมั่น
[ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐานแห่งสมาธิ
ส่วนในข้อว่า อะไรเป็นลักษณะ เป็นรส เป็นปัจจุปัฏฐาน
เป็นปทัฏฐานแห่งสมาธินั้น มีคำแก้ว่า สมาธิมีความไม่ซัดส่ายเป็น
ลักษณะ มีการกำจัดความซัดส่ายเป็นรส มีความไม่หวั่นไหวเป็น
ปัจจุปัฏฐาน ส่วนปทัฏฐานแห่งสมาธินั้น คือความสุข ตามพระบาลีว่า
จิตของผู้มีความสุขย่อมตั้งมั่น” ดังนี้
[ประเภทแห่งสมาธิ]
ข้อว่า สมาธิมีกี่อย่างนั้น มีเฉลยว่า โดยลักษณะคือความ
ไม่ซัดส่าย สมาธิก็มีเพียงอย่างเดียว (แต่) เป็น ๒ โดยบังคับ
แห่งอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ เช่นเดียวกัน โดยบังคับแห่ง
โลกิยสมาธิและโลกุตตรสมาธิ โดยบังคับแห่งสัมปีติกสมาธิ (สมาธิ
๑.
ตรงนี้ปาฐะว่า ยสฺส ธมฺมสฺสานุภาเวน คำ ยสฺส นี้มีปัญหา เพราะเหตุที่ท่านมิได้
เรียง ต.ศัพท์ไว้ จึงอาจมีทางคิดได้อีกทางว่า ยสฺส โยคบุคคล ก็จะได้ความดีเหมือนกัน
ดังนี้ จิตเจตสิกของบุคคลใด...ตั้งมั่นด้วยอนุภาพแห่งธรรม การตั้งมั่นแห่งจิตเจตสิก
ของบุคคลนั้น ชื่อว่า สมาธาน แต่ว่าหากจะเป็นอย่างนี้ก็น่าจะเรียงศัพท์ไม่ให้มีปัญหาได้
คือเรียงว่า ยสฺส อมฺมานุกเวน...
มหาฎีกาท่านไม่พูดถึงเสียเลย กลับไปแก้ อานุภาเวน ออกเป็น พเลน แล้วเท่านี้
ท่านเห็นว่ายังไม่แจ่ม จึงไขต่อไปอีกว่า ปจจัยภาเวนาติ อตฺโถ.
๒. ที. ปาฏิ๑๑/๒๕๔