วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - การบูชาพระสงฆ์ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 307
หน้าที่ 307 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้พูดถึงการเคารพระสงฆ์และคุณสมบัติของท่านเกี่ยวกับการทำทักขินา และการทำอัญชลีกรรม อธิบายถึงความสำคัญของการบูชาที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนาและบทบาทของพระสงฆ์ในการเป็นที่เพาะปลูกบุญของชาวโลก โดยใช้การเปรียบเทียบกับพื้นที่เพาะปลูกข้าวของพระราชาและอำมาตย์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของการทำบุญให้แก่พระสงฆ์ที่มีผลต่อชีวิตจิตใจและสังคมค่ะ..

หัวข้อประเด็น

-การบูชาพระสงฆ์
-คุณสมบัติของพระสงฆ์
-ทักขินา
-อัญชลีกรรม
-บทบาทของพระสงฆ์ในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 305 จึงชื่อ ปาหวนียะ ( ผู้ควรของอันเขานำมาบูชาโดยประการทั้งปวง ) ศัพท์ ปาหวนียะ นี้นั้น ในที่นี้กล่าวว่าปาหุเนยยะ โดยอรรถ (ก็อัน เดียวกัน ) นั้นแล (แก้บท ทกฺขิเณยโย] ก็ทานที่บุคคลพึงเชื่อปรโลกแล้วจึงให้ เรียกว่า ทักขิณา พระ สงฆ์ย่อมควรซึ่งทักขิณานั้น หรือว่าเกื้อกูลแก่ทักขิณา เพราะว่าทำ ทักขิณาให้หมดจด โดยภาวะคือทำทักขิณานั้นให้มีผลมาก เหตุนั้น พระสงฆ์จึงชื่อว่า ทักขิเณยยะ ( ผู้ควรซึ่งทักขิณาหรือผู้เกื้อกูลแก่ทักขิณา) [แก้บท อญฺชลีกรณีโย พระสงฆ์ย่อมควรซึ่งอัญชลีกรรม อันชาวโลกทั้งปวงวางหัตถ์ ทั้งสองไว้เหนือเศียรกระทำอยู่ เหตุนั้นจึงชื่อว่าอัญชลีกรณียะ ( ผู้ควรซึ่ง การทำอัญชลี ) [แก้ อนุตตร์ ปุญญักเขตติ โลกสฺส บทว่า อนุตฺตร์ ปุญฺญกุเขตฺติ โลกสฺส ความว่า พระสงฆ์ เป็นที่เพาะปลูกบุญของชาวโลกทั้งปวง ไม่มีที่เสมอเหมือน อย่างว่า ที่เพาะปลูกข้าวสาลีก็ดี ข้าวเหนียวก็ดี ของพระราชาหรือของอำมาตย์ ก็ตาม เขาก็เรียก รญฺโญสาลิกฺเขตต์ รญฺโญ ยวกฺเขตต์ นาข้าว สาลีของพระราชา นาข้าวเหนียวของพระราชา ดังนี้เป็นต้นฉันใด ๑. มหาฎีกาท่านช่างคิดว่า แม้บาลีจะใช้ศัพท์ว่า อนุตตร์ ซึ่งแปลว่า "ไม่มีที่ยิ่งกว่า" ก็จริง แต่ที่แท้นั้น แม้แต่ "ที่เสมอ" ก็หามีไม่ เพราะฉะนั้น ท่านจึงแก้เป็น "อสทิส- ไม่มีเสมอเหมือน"
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More