ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 108
*
ไตรลักษณ์ได้ ) แต่แม้เพราะสมาธิและปัญญาทั้ง ๒ เสมอกัน
อัปปนาก็คงมีได้
[สติเป็นสพฺพตฺถิกา]
ส่วนสติ มีกำลังในที่ทั้งปวงย่อมควร เพราะสติรักษาจิตไว้แต่
ความตกไปในอุทธัจจะ เพราะอำนาจแห่งสัทธาวิริยะ และปัญญา
อันเป็นฝักฝ่ายอุทธัจจะ และรักษาจิตไว้แต่ความตกไปในโกสัชชะ
เพราะสมาธิอันเป็นฝักฝ่ายโกสัชชะเพราะเหตุนั้น สตินั้นจึงจำ
ปรารถนาในที่ทั้งปวง ดุจเกลือสะตุเป็นสิ่งพึงปรารถนาในกับข้าว
ทั้งปวง และดุจสรรพากรรมิกอำมาตย์ (ผู้รอบรู้ในการงานทั้งปวง )
เป็นผู้พึงปรารถนาในสรรพราชกิจ ฉะนั้น เพราะฉะนั้น พระอรรถ
กถาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า " ก็แลสติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็น
คุณชาติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง เพราะเหตุไร เพราะจิตมีสติเป็นที่
อาศัยไป และสติมีการรักษาเอาไว้ได้เป็นเครื่องปรากฏ การยกและ
ข่มจิต เว้นสติเสีย หามีได้ไม่ "
(๓) ความฉลาดในนิมิต
ความฉลาดในการทำนิมิตแห่งจิตเตกัคคตามีปฐวีกสิณเป็นต้น
ที่ยังมิได้ทำ ความฉลาดในอันยังนิมิตที่ทำแล้วให้เจริญ และความ
ฉลาดในการักษานิมิตที่ได้แล้ว ด้วยภาวนา ชื่อว่าความฉลาดใน
นิมิต ในที่นี้ท่านประสงค์เอาความฉลาดในการักษานั้น (แล)
(๔) ยกจิตในสมัยที่ควรยก
ถามว่า ก็พระโยคาวจรยกจิตในสมัยที่ควรยก อย่างไร ?
มหาฎีกาเสริมความว่า เพราะความฉลาดในการเจริญสำเร็จไปก่อนแล้ว