วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - การเข้าฌาน วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 158
หน้าที่ 158 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าฌานที่เกิดจากการทำลายอุปกิเลสทั้งห้าซึ่งขัดขวางสมาธิ โดยเปรียบเปรยถึงการเสด็จเข้าอุทยานที่สะอาด และการมีจิตใจเย็นและมีความผาสุกในการปฏิบัติธรรม การขยายปฏิภาคนิมิตซึ่งเป็นขั้นตอนสูงสุดในการทำสมาธิ จึงควรทำให้จิตใจหมดจดก่อนเข้าถึงฌานถึงจะเป็นผลดี. เหตุผลว่าเพื่อความสุขสงบของจิตตภาวนาให้ตั้งมั่น ในส่วนการขยายปฏิภาคนิมิต อาจมีการเกิดขึ้นในสองชั้นคือ อุปจารและอัปปนาฯ

หัวข้อประเด็น

-การเข้าฌาน
-พระโยคาวจร
-การทำลายอุปกิเลส
-ปฏิภาคนิมิต
-การขยายปฏิภาคนิมิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 156 เร็ว และดังพระราชาผู้เสด็จเข้าสู่อุทยานอันไม่สะอาด ย่อมเสด็จออก โดยเร็ว ฉะนั้นส่วนภิกษุใดยังธรรมทั้งหลายที่เป็นข้าศึกแห่งสมาธิ ให้หมดจดด้วยดีแล้วเข้าฌาน ภิกษุนั้นจะอยู่ภายในสมาบัติได้ตลอด ทั้งวัน ดังแมลงภู่เข้าสู่ ( ปล่อง) ที่อาศัยอันทำให้หมดจด (อยู่ภายใน ปล่องที่อาศัยได้นาน ) และดังพระราชาผู้เสด็จเข้าสู่อุทยานที่สะอาดดี (เสด็จอยู่ในอุทยานนั้นนาน ) ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระโบราณจารย์ ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า "พระโยคาวจรจึงถ่ายถอนเสียซึ่งฉันทะในกาม ทั้งหลาย ซึ่งปฏิฆะ ซึ่งอุทธัจจะ ( กุกกุจจะ ) และ ( ถีนะ ) มิทธะ ครบ ๕ ทั้งวิจิกิจฉา (เข้าฌาน ) มีใจอันทำความบันเทิงในวิเวก ยินดีอยู่ในฌานนั้น ดุจพระราชาผู้เสด็จไปสู่ อุทยานอันสะอาดทั่วถึงแล้ว ทรงยินดีอยู่ใน อุทยานนั้น ฉะนั้น" เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรผู้ปรารถนาความตั้งอยู่นาน (แห่งฌาน) พึงยังธรรมอันเป็นข้าศึกทั้งหลายให้หมดจดแล้วจึงเข้าฌานเถิด อนึ่ง เพื่อความไพบูลย์แห่งจิตตภาวนา พระโยคาวจรจึงขยาย (ส่วน ) ปฏิภาคนิมิตตามที่ได้ไว้แล้ว ภูมิแห่งการขยายปฏิภาคนิมิต นั้นมี ๒ คือ (ชั้น ) อุปจารก็ได้ (ชั้น ) อัปปนาก็ได้ แท้จริง แม้นถึง (ชั้น ) อุปจารแล้วจะขยายปฏิภาคนิมิตนั้นก็ควร แต่แม้นถึง (ชั้น )
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More