วิสุทธิมรรค แปล ภาค ๑ ตอน ๒ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 41
หน้าที่ 41 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับความเข้าใจในกรรมฐานและจริยาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ความสำคัญของการเข้าไปหากัลยาณมิตรเมื่อกายใจมีความพร้อม ในบทนี้จะพูดถึงจริยา ๖ และการแบ่งกลุ่มของจริยา ๑๔ ดังที่ได้กล่าวไว้ การที่ราคะ โทสะ โมหะ รวมเข้ากับสัทธาและปัญญาสร้างความสมดุลในจิตใจ ทุกอย่างมีการเกิดร่วมกันได้ในตัวบุคคลเดียว ซึ่งทำให้การศึกษาเรื่องกรรมฐานมีความสำคัญมากขึ้นในพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-กรรมฐานเบื้องต้น
-จริยาและประเภทของจริยา
-การระคนกันของจริยา
-ความสำคัญของกัลยาณมิตร
-ผลต่อจิตใจและการปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 40 ก็ดี จึงเปิดเผยอาพาธนั้น ( ให้อาจารย์ทราบ ) ตามที่มันเป็น เรียนบอก เวลาที่ ( กายใจ ) สบายสำหรับตน แล้วไปหา ( ท่าน ) ในเวลานั้น เพราะว่าในเวลาที่ไม่สบาย แม้ท่านบอกกรรมฐานให้ เธอก็ไม่อาจ มนสิการ ( ใส่ใจ ) ได้ นี้เป็นความพิสดาร ในข้อว่า " เข้าไปหาท่านผู้ให้ กรรมฐานผู้เป็นกัลยาณมิตร " นั้น [จริยา และ จริต ๖] บัดนี้ พึงทราบความพิสดาร ในข้อว่า " กรรมฐานอันอนุกูลแก่ จริยาของตน " นั้นต่อไป คำว่า จริยา ได้แก่จริยา ๖ คือ ราคจริยา โทสจริยา โมหจริยา สัทธาจริยา พุทธิจริยา วิตกจริยา แต่อาจารย์ลางพวกประสงค์เอา จริยา ๑๔ ทั้งจริยา 6 นี้ โดยสังสัคคะ ( ความระคนกัน ) และ สันนิบาต (ความรวมกัน แห่งวัตถุ ๒ ข้างหน้ามีราคะเป็นต้น ได้จริยา ๔ หมวด ๑ แห่งวัตถุ ๓ ข้างหลัง มีสัทธาเป็นต้น ก็ได้จริยา ๔ อีกหมวด ๑ เหมือนกัน แต่เมื่อจะกล่าวประเภทออกไปอย่างนี้ จริยา ๑. มหาฎีกาว่า จริยา 5 นั้น อาจารย์พวกหนึ่ง แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม ๓ ข้างหน้า คือ ราคะ โทสะ โมหะ เป็นกลุ่ม ๑ ๓ ข้างหลัง คือ สัทธา พุทธิ วิตก เป็นกลุ่มหนึ่ง แต่ละกลุ่มจัดแบ่งตามที่มันระคนกัน และตามที่มันเกิดร่วมกันได้ ได้อีก กลุ่มละ ๔ ๒ กลุ่มเป็น 4 รวมกับมูลจริยา๖ จึงเป็นจริยา ๑๔ กลุ่มหน้า 4 นั้น โดยระคนกัน ๒ โดยเกิดร่วมกัน ๒ โดยระคนกัน ๒ คือ ราคโมห จริยา และโทสโมหจริยา หมายความว่า รักเจือหลงก็มี โกรธเจือหลงก็มี โดยเกิดร่วมกัน ๒ คือ ราคโทสะจริยา และราคโทสโมหจริยาหมายความว่า รักกับโกรธ หรือรักโกรธหลง มันเกิดต่อเนื่องเป็นอันเดียวกัน และรุนแรงหนักหนาปานๆ กันมีในคนๆ เดียวก็ได้ กลุ่มหลัง ๔ ก็นัยเดียวกัน คือ สัทธาพุทธิจริยา สัทธาวิตกจริยา พุทธิวิตกจริยา สัทธาพุทธิวิตกจริยา หมายความว่า ความเชื่อเจือความฉลาดก็มี ความเชื่อเจือความคิด มากก็มี และความฉลาดกับความคิดมาก หรือ ความเชื่อความฉลาดความคิดมาก มันเกิดต่อเนื่อง เป็นอันเดียวกันได้ และเกิดมีในสันดานคนๆ เดียวปานๆ กันก็ได้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More