ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 218
ต่อนั้นจึงสังเกตไว้ว่า " ในโอกาสตรงนี้ นั่นเป็นจอมปลวก นี่เป็น
อสุภนิมิต ( นี่อสุภนิมิต นั่นจอมปลวก) "
ถ้าไม้ต้นมีอยู่ แม้ต้นไม้นั้นก็พึงกำหนดดูว่า " เป็นต้นโพธิ์หรือ
ต้นไทร ต้นเต่ารั้งหรือต้นมะขวิด สูงหรือเตี้ย เล็กหรือใหญ่ ดำ
หรือขาว ต่อนั้นจึงสังเกตไว้ว่า " ในโอกาสตรงนี้ นั่นเป็นต้นไม้
นี่เป็นอสุภนิมิต ( ชื่อสุภนิมิต นั่นต้นไม้) "
ถ้าไม้กอมีอยู่ แม้กอไม้นั้น ก็พึงกำหนดดูว่า " เป็นกอเป้ง
หรือกอเล็บเหยี่ยว หรือกอพุด หรือกอว่านหางช้าง กอสูงหรือเตี้ย
เล็กหรือใหญ่ ต่อนั้นจึงสังเกตไว้ว่า " ในโอกาสตรงนี้ นั่นเป็น
กอไม้ นี่เป็นอสุภนิมิต ( นี่อสุภนิมิต นั่นกอไม้ ) "
ถ้าไม้เถามีอยู่ แม้เถาไม้นั้นก็พึงกำหนดดูว่า " เป็นเถาน้ำเต้า
หรือเถาฟัก หรือเถาหญ้านาง หรือเถากระพังโหมหรือเถาหัวด้วน "
ต่อนั้นจึงสังเกตไว้ว่า " ในโอกาสตรงนี้ นั่นเป็นเถาไม้ นี่เป็นอสุภ
นิมิต นี่อสุภนิมิต นั่นเถาไม้ "
ส่วนคำใดที่กล่าวว่า " ทำ---- ให้เป็นนิมิตร่วม ให้เป็นอารมณ์
ร่วม " คำนั้นก็ ( มีอรรถาธิบาย) รวมอยู่ในข้อ กำหนดนิมิตโดย
รอบ ) นี้แล เพราะว่าเมื่อกำหนดดู (นิมิตโดยรอบ ) แล้วๆ เล่าๆ ก็
ชื่อว่าทำ ( นิมิตโดยรอบนั้น ) ให้เป็นนิมิตร่วม เมื่อกำหนดรวม
นิมิต ๒ อย่างเข้าด้วยกันว่า นั่นก้อนหิน ชื่อสุภนิมิต ชื่อสุภนิมิต
นั่นก้อนหิน ดังนี้ ก็ชื่อว่า ทำให้เป็นอารมณ์ร่วม ก็แลครั้นทำให้
เป็นนิมิตร่วม และให้เป็นอารมณ์ร่วมอย่างนี้แล้ว เพราะความที่กล่าว