วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 32
หน้าที่ 32 / 324

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจการเข้าใจพระอรหัตมรรคและบทบาทของพระอาจารย์ในการให้กรรมฐานแก่ศิษย์ โดยชี้ให้เห็นถึงธรรมะที่สำคัญในกองรวมกันของคุณธรรม และการอธิบายเรื่องอิทธิปลิโพธ ในการบรรลุสมาธิและวิปัสสนาได้อย่างชัดเจน พร้อมแนวทางในการพัฒนาตนตามหลักธรรมที่ถูกต้องเพื่อเข้าถึงการบรรลุ.

หัวข้อประเด็น

-พระอรหัตมรรค
-กรรมฐาน
-คุณธรรม
-อิทธิปลิโพธ
-แนวทางการพัฒนาด้านจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที 31 " อาวุโสทั้งหลาย พระอรหัตมรรคควรแก่ท่านอาจารย์ของเราแล้วละ ท่านอาจารย์ของเราเป็นผู้ซื่อตรง เป็นอาชาไนยบุคคล ท่านจึงยอม นั่งบนเสื่อใกล้ธัมมันเตวาสิกของตน กล่าวว่า " เธอจงบอกกรรมฐาน แก่ฉันด้วยเถิด " อาวุโสทั้งหลายพระอรหัตมรรค สมควรแก่พระเถระ ท่านแล้ว " คันถะ ย่อมไม่เป็นปลิโพธแก่ภิกษุทั้งหลายผู้มีคุณธรรมเช่นนี้ [อิทธิปลิโพธ] คำว่า อิทธิ หมายเอาฤทธิ์อันมีในปุถุชน อันฤทธิ์ที่มีในปุถุชน นั้น เป็นสิ่งที่รักษายาก ดุจเด็กอ่อนที่ยังนอนแบและดุจข้าวกล้าอ่อน ย่อมจะแตกได้ด้วยเหตุเพียงเล็กน้อย ก็แลฤทธิ์นั้น ย่อมเป็นปลิโพธ ต่อวิปัสสนา หาเป็นปลิโพธต่อสมาธิไม่ เพราะฤทธิ์นั้น บุคคลบรรลุ สมาธิแล้วจึงได้ เพราะเหตุนั้นแล อิทธิปลิโพธ พระโยคาวจรผู้ ประสงค์วิปัสสนาจำต้องตัด (ส่วน) ปลิโพธ (8) ที่เหลือ พระโยคา วจรผู้ประสงค์สมถะพึงตัด นี้แล ความพิสดารในเรื่องปลิโพธ พึงทราบเป็นอันดับแรก ส่วนในข้อว่า " เข้าไปหาท่านผู้ให้กรรมฐาน ผู้เป็นกัลยาณ มิตร " นั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ๑. มหาฎีกาว่า ท่านซื่อ เพราะไม่มีสาไถย คือ ไม่อวดดี นับเป็นอาชาไนย เพราะรู้เหตุ ที่ควรรู้ ไม่มัวงมอยู่ ) ๒. หมายถึงท่านพระธรรมรักขิตเถระผู้ปรินิพานไปแล้ว เรื่องพระจุฬาภัยนี้ ท่าน ผู้แต่งเล่าด้วยสำนวนโวหารที่ฟังเข้าใจยาก ตั้งแต่ต้นจนจบ ต้องใช้เวลาอ่านทำความ เข้าใจมากอยู่ ซึ่งในที่สุดก็ต้องใช้วิธีเติมข้อความเอาตามที่เข้าใจว่าจะเป็นเช่นนั้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More