ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 24
ทั้งหลาย ( แยกย้าย ) ไปหาที่ ( เรียน ) ตามสะดวกเถิด " ดังนี้แล้ว ละทิ้ง
คณะ ( ไป ) ทำงานของตนเถิด
(กัมมปลิโพธ]
นวกรรม ( การก่อสร้าง) ชื่อว่า กัมมะ (การงาน) อันภิกษุผู้
ทำนวกรรมนั้น จำต้องรู้ทัพสัมภาระที่คนงานมีช่างไม้เป็นต้นได้ไว้แล้ว
และยัง ( หา) ไม่ได้ ต้องขวนขวาย (ดูแล ) ในงานที่เขาทำเสร็จแล้ว
และยังไม่ได้ทำผู้ทำนวกรรมต้องมีปลิโพธ ไปเสียทุกอย่างดังนี้แหละ
แม้กัมมปลิโพธนั้น ก็พึงตัดเสียด้วยอุบายดังต่อไปนี้ ถ้างานเหลือน้อย
พึงทำเสียให้เสร็จ ถ้าเหลือมาก หากเป็นนวกรรมของสงฆ์ไซร้ จึง
หาก
มอบหมายแก่สงฆ์ หรือภิกษุผู้นำภาระ ( ในสังฆกิจ ) ทั้งหลาย หา
เป็นนวกรรมส่วนตัว จึงมอบแก่ผู้นำภาระของตน ไม่มีภิกษุผู้นำภาระ
เช่นนั้น ก็พึงสละ( งาน ) ให้แก่สงฆ์แล้วไปเถิด
(อัทธานปลิโพธ]
การเดินทาง ชื่อว่า อัทธานะ ก็บรรพชาเปกขะของภิกษุใดมีอยู่
ที่ไหนก็ดี ปัจจัยชนิดไรๆ อันภิกษุใดจะพึงได้อยู่ที่ไหนก็ดี ถ้าภิกษุ
นั้นยังไม่ได้ ( 1
( พบ ) บรรพชาเปกขะและปัจจัยนั้น เธอไม่อาจหยุดยั้ง
อยู่ได้ อันคมิกจิต (ความคิดจะไป ) แม้แห่งภิกษุผู้เข้าป่าทำสมณธรรม
อยู่ ก็เป็นของยากที่จะบรรเทาได้” เพราะฉะนั้น เธอจึงไปจัดทำกิจนั้น
๑.
ภารหารกภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่ (?)
๒. เข้าใจว่า การเดินทางในที่นี้ หมายเอาการเดินทางไปเป็นกิจ เช่นเป็นอุปัชฌายะไป
ทำการบรรพชาอุปสมบท ไปในกิจนิมนต์ ไม่ใช่เดินทางเพื่อจาริก มหาฎีกาว่า ในสีหล
ทวีปนั้น การบรรพชากลทารก ( บาชเณร ? ) เขาจัดเป็นงานเอิกเกริก คล้ายงาอาวาหะ
วิวาหะ มีวันกำหนดนัดหมายกัน เพราะฉะนั้น พระอุปัชฌายาจารย์ ถ้าอยู่ในวัดไกล
จะต้องเดินทางไปให้ทันวันกำหนดเขา เมื่อยังไม่ได้เดินทางไปจัดกิจอันนั้น จึงเป็น
ปลิโพธอยู่ ในกิจนิมนต์ก็ในเดียวกัน