วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 177
หน้าที่ 177 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการวางเฉยในภาวะต่าง ๆ ของพระโยคาวจรที่ทำวิปัสสนา โดยอธิบายการเกิดขึ้นของความวางเฉยในการค้นหาสังขาร และการยึดถือสังขารต่างๆ รวมถึงการแตกต่างของความวางเฉยในแต่ละรูปแบบ เช่น วิปัสสนูเบกขาและสังขารุเบกขา โดยยกตัวอย่างการมองเห็นภพ ๓ ในแง่ของเวทนาและความคิดที่จะไม่เบียดเบียน ซึ่งจะมีอุเบกขาในหลายบริบท เช่น ฌานุเบกขาและการใช้สัญลักษณ์สวัสดิกะในการแสดงความหมายทางจิตวิญญาณ.

หัวข้อประเด็น

-ความวางเฉยในการเฟ้นหาสังขาร
-การทำวิปัสสนา
-ความไม่เที่ยงแห่งสังขาร
-สัญลักษณ์สวัสดิกะ
-รูปแบบของอุเบกขา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

* ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 175 สวัสติกะสามเฉก ( ที่หัวมัน ) แล้วสิ้นสงสัยความวางเฉยในการที่จะ เฟ้นว่างูไม่ใช่งูก็ย่อมมีฉันใด เมื่อเห็นลักษณะ ๓ ด้วยวิปัสสนา ญาณแล้ว ความวางเฉยอันใดในอันที่จะเฟ้นความไม่เที่ยงแห่ง สังขารทั้งหลายเป็นต้นย่อมเกิดขึ้นแก่พระโยคาวจรผู้ทำวิปัสสนา ฉันนั้น เหมือนกัน ความวางเฉย ( ในการเฟ้นสังขาร ) นี้ ชื่อว่าวิปัสสนูเบกขา ส่วนว่าเมื่อบุรุษนั้น ( กด )จับงูไว้มั่นด้วยไม้ง่ามแล้วคิดจะปล่อยมัน ไป ( โดย ) ไม่เบียดเบียนมันด้วย ไม่ให้มันกัดตัวด้วย (ตรอง) หา วิธีการจะปล่อยอยู่นั่นแล ความวางเฉยในอันจะจับเอา (งู) ไว้ย่อมมี ฉันใด เมื่อพระโยคาวจรเห็นภพ ๓ ดุจถูกไฟไหม้เพราะเห็นลักษณะ ๓ แล้ว ความวางเฉยอันใดในอันที่จะยึดถือเอาสังขารไว้ ย่อมมี ฉันนั้นแล ความวางเฉย ( ในการยึดสังขาร) นี้ชื่อว่า สังขารุเบกขา โดยประการดังนี้ เมื่อวิปัสสนูเบกขาสำเร็จแล้ว แม้สังขารุเบกขา ก็เป็นอันสำเร็จด้วยแท้ อันอุเบกขานี้แตกเป็น ๒ โดยกิจ กล่าวคือ ความวางเฉยในความเฟ้น ( สังขาร ) และ ( วางเฉยใน ) ความยึดถือ ( สังขาร ) ไว้ (ดัง) นี้แล ส่วนวิริยุเบกขาและเวทนูเบกขา ต่างกันและกันด้วย โดยความ ก็ต่างจากอุเบกขานอกนั้นด้วยแท้แล โดยนัยดังนี้ ในอุเบกขาเหล่านี้ ฌานุเบกขาท่านประสงค์เอา ในที่นี้ ฌานุเบกขานั้นมีความวางเฉยเป็นลักษณะ มีความไม่ โสตถิกฤตย์ ไทยเราเรียก "ดอกจันทน์" นักปราชญ์ว่า เครื่องหมายสวัสดิกะ มี ๒ อย่าง คือสี่แฉกอย่างหนึ่ง สามแฉกอย่างหนึ่ง สวัสติกะสี่แฉกเป็นเครื่องหมาย ข้างดี สวัสติกะสามแฉกเป็นครองหมายข้างร้าย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More