วิสุทธิมรรค: พระภควาและพระพุทธคุณ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 286
หน้าที่ 286 / 324

สรุปเนื้อหา

ในเนื้อหานี้มีการกล่าวถึงความหมายและการใช้คำว่า 'พระภควา' และความสำคัญของการระลึกถึงพระพุทธคุณในจิตของผู้ฝึกฝน พระโยคาวจรมีจิตที่ปราศจากราคะ โทสะ และโมหะ โดยมุ่งเน้นที่พระตถาคตเจ้า การตกลงในพระกรรมฐานช่วยให้สามารถดำเนินการในทางแห่งการปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับการอธิบายคำว่า 'เมขลา' ว่าเป็นระเบียบที่ใช้ในการประดับโอกาสอันลับ โดยรวมเนื้อหาสำคัญสืบเนื่องถึงการเข้าใจธรรมะในพระพุทธศาสนา ทั้งหมดนี้ย่อมทำให้นักปฏิบัติสามารถเข้าถึงความสุขและรู้แจ้งในธรรมได้ดีขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-พระภควา
-พระพุทธคุณ
-ธรรมะในวิสุทธิมรรค
-การพัฒนาจิต
-การปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

* ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 284 และโลกุตตระอื่นๆ เพราะเหตุนั้นเมื่อน่าจะเรียกว่าพระกฤตวา (แต่ ) เรียกเสียว่า พระภควา [แก้บท ภเวสุ วนฺตคมนะ] อนึ่งเล่า เพราะความไป กล่าวคือตัณหาในภพ ๒ พระองค์ทรง คายเสียแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า ภเวสุวนฺตคมโน (แต่) ท่านถือเอา ภ อักษรแต่ ภว ศัพท์ ค อักษร แต่ คมนศัพท์ และ ว อักษร แต่ วนฺต ศัพท์ ทำ (ว อักษร) ให้เป็นทีฆะ เรียกเสียว่า พระภควา เหมือนในทางโลก เมื่อควรเรียก (ให้เต็ม) ว่า เมหนสฺส ขสฺส มาลา (มาลาแห่งโอกาสอันเป็นที่ลับ ?) (แต่) นักปราชญ์ (ถือเอา เม แต่ เมหนสฺส ข แต่ ขสฺส ลา แต่ มาลา) เรียกเสียว่า เมขลา ฉะนั้นแล [พุทธานุสสติญาณ] เมื่อพระโยคาวจรนั้น ระลึกถึงพระพุทธคุณว่า " เพรา " เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระอรห์ ฯลฯ เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มี พระภาคเจ้านั้น เป็นพระภควา " ดังนี้อยู่ ในสมัยนั้น จิตของเธอ ย่อมไม่เป็นจิตที่ราคะกลุ้มรุม ไม่เป็นจิตที่โทสะกลุ้มรุม ไม่เป็นจิต ที่โมหะกลุ้มรุมเลยทีเดียว ในสมัยนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตดำเนิน ไปตรงแน่ว ปรารภ ( คุณ ) พระตถาคตเจ้า เมื่อเธอข่มนิวรณ์ได้โดย ที่ไม่มีปริยัฏฐานกิเลสมีราคะเป็นอาทิอย่างนั้นชื่อว่ามีจิตดำเนินไป ตรง เพราะความที่มีจิตมุ่งต่อพระกรรมฐานอยู่ ฉะนี้ วิตกและวิจาร อันโน้มไปในพระพุทธคุณย่อมเป็นไป เมื่อตรึกเมื่อตรองพ องพระพุทธคุณ โบราณจึงแปล เมขลา ว่า ระเบียบเครื่องประดับโอกาสอันลับ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More