ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 197
(ที่ไม่มีบุญ ) จึงถือเอาดอกไม้ มีดอกนี้ลุบล และดอกคิริกัณณิกา
เป็นต้น มาเรียงเข้าให้เต็มผอบหรือเทียบเสมอขอบปากทั้งใบด้วย
โดยวิธีที่เกสรก็ดี ขั้วก็ดี ไม่ปรากฏ หรือใช้ผ้าสีเขียวผูกเข้าเป็นห่อของ
บรรจุลงไปก็ได้ หรือใช้ผ้าสีเขียวนั้นผูก (ขึง ) เข้าที่ขอบปากมันให้เป็น
ดุจหน้ากลองก็ได้ หรือใช้ธาตุ (สี) มีเขียวเหมือนสำริด เขียวเหมือน
ใบไม้ และเขียวเหมือนดอกอัญชัน เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งทำให้
เป็นกสิณมณฑล ชนิดเคลื่อนที่ได้ ตามนัยที่กล่าวแล้วในปฐวีกสิณ
หรือ (ติดไว้) ที่ฝาเลยก็ได้ แล้วตัดโดยรอบด้วยสีที่แตกต่าง แต่นั้น
มนสิการว่า นีå นีå พระโยคาวจรจึงให้เป็นไปโดยนัยอันกล่าวแล้ว
ในปฐวีกสิณเถิด แม้ในนีลกสิณนี้ กสิณโทษก็ปรากฏในอุคคหนิมิต
คือ สิ่งที่เนื่องด้วยกสิณมณฑล มีเกสร ก้าน ระหว่างกลีบเป็นต้น
ย่อมปรากฏ (ส่วน ) ปฏิภาคนิมิตหลุดจากกสิณมณฑล ปรากฏเช่น
กับขั้วตาลฝั่งแก้ว ( อินทนิล ) อยู่ในอากาศ คำพรรณนาที่เหลือ
พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั้น เทอญ
"
นีลกสิณ จบ
ปีติกสิณ
นัยแม้ในปีติกสิณก็ดุจนัยนั้น สมคำ (อรรถกถา)
ที่กล่าวไว้ว่า
" พระโยคาวจรผู้จะขึ้นเอาปีตกสิณ ย่อมถือเอานิมิตในสีเหลือง ใน
ดอกไม้บ้าง ในผ้าบ้าง ในธาตุสีบ้าง " ดังนี้ เพราะเหตุนั้น แม้ใน
ปีติกสิณนี้ สำหรับผู้มีบุญมีอธิการได้สร้างไว้ เพียงได้เห็นกอดอกไม้