ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 78
บัดนี้ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคำที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ ( ใน
กัมมฐานคหณนิเทศตอนแก้สมาธิภาวนา ) ว่า "....อันพระโยคีผู้
ละวิหารอันไม่เหมาะสมแก่การบำเพ็ญสมาธิเสียแล้ว พำนักอยู่ใน
วิหารที่เหมาะสม...." ดังนี้ต่อไป
ก่อนอื่น เมื่อพระโยคีผู้ใดอยู่ในวิหารเดียวกันกับพระอาจารย์
มีความผาสุก พระโยคีนั้น เมื่อจะชำระกรรมฐานก็พึ่งอยู่ในวิหาร
นั้นแหละ ถ้า ( เมื่ออยู่ ) ในวิหารนั้นไม่มีความผาสุกไซร้ วิหาร
อื่นใดเป็นสัปปายะมีอยู่ในที่ (ไกลแต่วิหารของอาจารย์) ประมาณ
คาวุตหนึ่งหรือกึ่งโยชน์ หรือแม้ประมาณถึงโยชน์หนึ่งก็ดี ก็พึง ( ไป)
อยู่ในวิหารนั้นเถิด ด้วยเมื่อได้อยู่อย่างนั้น ครั้นมีความสนเท่ห์หรือ
เกิดความหลงลืมในข้อกรรมฐานที่ตรงไหนก็ดี จะได้ (ลุกขึ้น)
ทำวัตร ในวิหาร ( ที่ตนอยู่ ) แต่เช้าแล้ว ( ออกเดิน ) เที่ยวบิณฑบาต
(ฉัน ) ในระหว่างทาง ไปถึงที่อยู่ของพระอาจารย์ในเวลา ( ท่าน )
เสร็จภัตกิจพอดี แล้ววันนั้นชำระกรรมฐานในสำนักของพระอาจารย์
เสีย ( ให้เสร็จ ) วันรุ่งขึ้นก็กราบ (ลา) พระอาจารย์ (เดินทางกลับ )
ไป เที่ยวบิณฑบาต (ฉัน) ในระหว่างทาง ยังไม่ทันเหนื่อยก็อาจ
มาถึงที่อยู่ของตนได้ ส่วนพระโยคีผู้ใดไม่ได้ที่ผาสุกในที่แม้ ( ไกล )
ตั้งโยชน์ พระโยคีนั้นจึงตัดข้ออันเป็นขอดทั้งปวงของกรรมฐาน ( เสีย
ให้ได้) ทำกรรมฐานที่เนื่องด้วยความนึกหน่วงให้หมดจดดีแล้ว ไป
มหาฎีกาว่า คำว่า ตัด ในที่นี้หมายความว่าตัดข้อที่เป็นขอดเป็นปม เพราะเข้าใจ
ยากออกไป โดยหาความเข้าใจให้ถูกต้องตามที่เป็นจริง ทั้งโดยอรรถ และโดยอธิบาย
อย่าให้มีที่เคลือบแคลงเหลืออยู่