ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 144
ฌาน ด้วย ก็จริงอยู่ถึงกระนั้นก็นิวรณ์ ๕ นี้เท่านั้น เป็นตัวทำอันตราย
แก่ฌานอย่างวิเสส (คือยิ่งกว่าเขา) แท้จริง จิตที่ถูกกามฉันทะประโลม
ไปในอารมณ์ต่างๆ แล้วย่อมไม่ตั้งมั่นในเอกัตตารมณ์” นัยหนึ่ง จิตนั้น
ถูกกามฉันทะครอบงำแล้วย่อมไม่ดำเนินไปสู่ทางที่จะละกามธาตุ อนึ่ง
จิตนั้นถูกพยาบาทกระทบกระทั่งอยู่ในอารมณ์ ย่อมเป็นไปอย่างสะดุด
ถูกถีนมิทธะครอบงำแล้วย่อมเป็นจิตไม่ควรแก่การงาน
มีอุทธัจจ
กุกกุจจะเป็นเบื้องหน้าแล้วย่อมเป็นจิตสงบไม่ลง คิดพล่านไป ถูก
วิจิกิจฉาขัดขวางแล้วย่อมไม่ขึ้นสู่ทางอันจะยังการบรรลุฌานให้สำเร็จ
นิวรณ์ ๕ นี้เท่านั้นท่านเรียกว่า " องค์ที่จะต้องละ " เพราะเป็นตัวทำ
อันตรายแก่ฌานอย่างมาก ดังกล่าวมาฉะนี้
ก็เพราะว่า วิตกย่อมปักจิตลงไปในอารมณ์ วิจารตามผูกพันไว้
ปีติอันเกิดแต่ประโยคะสมบัติทำความอิ่มเอิบ และสุขทำความเฟื่องฟู
แก่ใจอันมี ( ภาวนา ) ประโยคะที่วิตกวิจารนั้นทำให้สำเร็จแล้ว โดย
ไม่ฟุ้งซ่านออกไป ครั้นแล้ว เอกัคคตาอันความปักจิต ความตามผูกพัน
ความอิ่มเอิบ และความเฟื่องฟูเหล่านั้นอุดหนุนแล้วย่อมตั้งไว้
๑. มหาฎีกาว่า หมายเอาในขณะเข้าฌาน เพราะแม้ผู้ได้ฌาน แต่ในเวลา
มิได้เข้าฌาน อกุศลจิตมีโลภจิตเป็นต้นก็เกิดขึ้นได้
๒. ที่แปลความหมายแห่ง วิเสส ว่ายิ่งกว่าเขานี้ อาศัยนัยที่ท่านจัดคุณศัพท์เป็น ๓ ชั้น
คือ ปกติ วิเสส อติวิเสส
๓. เอกัตตารมณ์ คือ อารมณ์อันมีสภาพเป็นหนึ่งด้วยอำนาจแห่งกสิณ มีปฐวี
กสิณเป็นต้น หรือว่าอารมณ์อันนำมาซึ่งความเป็นหนึ่ง กล่าวคือเอกัคคตา