ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที 151
มีรสอันเดียว (แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย) ให้เป็นไปก็ดีอาเสวนา (ความ
คล่อง ) แห่งฌานจิตนั้นใดเป็นไปแล้วในขณะนั้นก็ดี อาการทั้งปวง
นั้นชื่อว่าสำเร็จ เพราะเป็นอาการที่พระโยคาวจรเห็นโทษและอานิสงส์
นั้นๆ ในเพราะความเศร้าหมอง และความผ่องแผ้ว ด้วยญาณแล้ว
ยังจิตให้ร่าเริงคือให้หมดจด ให้ผ่องแผ้วได้โดยอาการนั้นๆ เพราะ
เหตุใด เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า สมุปห์สนา บัณฑิตพึงทราบ
โดยว่าเป็นความสำเร็จกิจแห่งญาณอันทำให้ผ่องแผ้ว โดยยังภาวะคือ
" ความไม่เป็นไปล่วงเลยกันแห่งธรรมทั้งหลายเป็นอาทิให้สำเร็จ " ดังนี้
เพราะเหตุที่ในภาวนาจิตนั้น ญาณย่อมปรากฏด้วยอำนาจแห่ง
อุเบกขา ดังพระบาลีว่า พระโยคาวจรย่อมเพ่งดูอยู่เฉยๆ ด้วยดีซึ่งจิต
ที่ยกขึ้น ( ด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ) อย่างนั้นแล้ว ปัญญินทรีย์
ย่อมเป็นคุณมีประมาณยิ่งด้วยอำนาจแห่งอุเบกขาและด้วยอำนาจแห่ง
ปัญญา จิตย่อมพ้นจากกิเลสอันมีสภาพต่างๆ ด้วยอำนาจแห่งอุเบกขา
ปัญญินทรีย์ย่อมเป็นคุณมีประมาณยิ่งด้วยอำนาจแห่งความพ้น และ
ด้วยอำนาจแห่งปัญญา เพราะพ้น (จากกิเลสต่างๆ) แล้ว ธรรม
ทั้งหลายเหล่านั้น ( มีศรัทธาเป็นต้น ) ย่อมเป็นธรรมมีรสเป็นอันเดียว
* มหาฎีกาอธิบายว่า คำว่า "ในขณะนั้น" หมายความในภังคขณะ เพราะเมื่ออุปปาทขณะ
ล่วงไปแล้ว ตั้งแต่ฐิติขณะไป อาเสวนจึงเป็นไป อาเสวนก็คืออาการที่เป็นไปแห่ง
ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นส่วนอาเสวนปัจจัย
ในมหาฎีกาภาค ๑ หน้า ๑๒๐ แก้ศัพท์ อาเสวนา ไว้ว่า....สมาธิสฺส อาเสวนาย
ปคุณพลวภาวาย สวตฺตนฺติ... (ศีลอย่างนี้ย่อมเป็นไปเพื่ออาเสวน คือเพื่อความมี
กําลังด้วยความคล่องแห่งสมาธิ)