วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 55 วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 57
หน้าที่ 57 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้พูดถึงสภาพของเสนาสนะและประสบการณ์ชีวิตของภิกษุ โดยอธิบายถึงสภาพห้องที่เก่าแก่ ตลอดจนเสื้อผ้าและถ้วยที่ใช้ในการบิณฑบาต ภิกษุพบเจอกับหมู่บ้านที่ไม่ต้อนรับและประชาชนที่ไม่ให้ความสำคัญกับการถวายภัตตาหาร ทำให้เห็นถึงความไม่สะดวกสบายและการไม่ให้เกียรติแก่ภิกษุในสมัยนั้น บทความนี้จึงสะท้อนถึงความยากลำบากและการใช้ชีวิตที่ต่ำต้อยของพระสงฆ์ในทางพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-สภาพเสนาสนะ
-ชีวิตของภิกษุ
-การบิณฑบาต
-การต้อนรับจากประชาชน
-การบังคับใช้ชีวิตอย่างต่ำต้อย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 55 เข้าเท่านั้น ความเกลียดก็เกิดขึ้น เสนาสนะเช่นนั้น (แล ) เป็นสัปปายะ ผ้านุ่งห่มที่ริมขาดแล้ว ( ทอหยาบๆ ) เกลื่อนไปด้วยเส้นด้าย ห้อยอยู่รุ่งริ่งไปอย่างกับขนมร่างแห สัมผัสหยาบราวกะป่านดิบ คร่ำ หนัก ใช้ลำบาก ( นั่นแล ) เป็นสัปปายะ แม้บาตร ก็เป็นบาตรดินสีเลอะๆ หรือมิฉะนั้นก็บาตรเหล็กที่ พรุนไปด้วยลิ่มและหมุด หนัก ทรวดทรงเลว น่าเกลียด ดูประหนึ่ง กะโหลกศีรษะ ( นันแหละ ) เหมาะ แม้ทาง ( เดินไป ) ภิกขาจาร ก็เป็นทางไม่น่าชอบใจ ไม่ใกล้ หมู่บ้าน ขรุขระ ( นั่นแล ) เหมาะ หมู่บ้านที่ภิกขาจารเล่า ก็เป็นหมู่บ้านชนิดที่ภิกษุทั้งหลายเที่ยว (ภิกขาจาร ) ไป ( ไม่มีวี่แววว่าใครจะถวายภิกษา) ราวกะว่า คน ทั้งหลายไม่เห็น เป็นหมู่บ้านชนิดที่คนทั้งหลายนิมนต์ภิกษุผู้ไม่ได้รับ ภิกษาในตระกูลเดียวแล้ว (กลับ) ออกไป ให้เข้าโรงฉัน ด้วยคำ ( ห้วนๆ ) ว่า " มานี่ ท่าน " ถวายข้าวยาคูและภัตรแล้ว เมื่อจะไปก็ไป (อย่าง ) ไม่แยแส คล้ายต้อนนางโคเข้าคอกแล้วก็ไปเสีย ไม่แลเหลียว ฉะนั้น ( นั่นแล ) เหมาะ แม้พวกคนอังคาส ก็เป็นพวกทาส หรือกรรมกรที่ผิวดำไม่น่าดู ผ้านุ่งห่มสกปรกเหม็นสาบ น่าเกลียดจริงๆ อังคาสด้วยอาการไม่ ยำเกรง ดุจ ( เท ) ทิ้งยาคูและภัตรเสียฉะนั้น พวกคนอังคาสเช่นนั้น (แล) เป็นสัปปายะ ยาคู ภัตรและของขบเคี้ยวเล่า ก็เป็นของปอนๆ สีเลอะๆ ล้วน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More