ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 172
ความว่าดูอย่างสงบ คือดูไม่ตกเป็นฝักฝ่าย ผู้ลุถึงตติยฌานท่านเรียก
ว่า อุเปกฺขโก เพราะประกอบด้วยอุเบกขานั้นสดใสไพบูลเรี่ยวแรง
ก็แลอุเบกขามี ๑๐ อย่าง คือ ฉฟังคุเบกขา พรหมวิหารเบกขา
โพชฌงคุเบกขา วิริยุเบกขา สังขารุเบกขา เวทนูเบกขา วิปัสสนู-
เบกขา ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ฌานุเบกขา ปริสุทธุเบกขา
ในอุเบกขา ๑๐ นั้น อุเบกขาใดเป็นอาการที่ไม่ละปกติภาพอัน
บริสุทธิในคลองแห่งอารมณ์ ๖ ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์
ในทวาร ๖ แห่งพระขีณาสพ อันมา ( ในบาลี) อย่างนี้ว่า " ภิกษุ
ขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสีย
ใจเลย และเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะวางเฉยอยู่ " ดังนี้เป็นต้น
นี้ชื่อว่าฉฟังคุเบกขา ( อุเบกขามีองค์ ๖ )
อุเบกขา
ส่วนอุเบกขาใด เป็นอาการเป็นกลางในสัตว์ทั้งหลาย อันมา
(ในบาลี ) อย่างนี้ว่า " ภิกษุมีใจไปกับอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง
อยู่" ดังนี้เป็นต้น อุเบกขานี้ชื่อว่า พรหมวิหารุเบกขา
อุเบกขาใดเป็นอาการเป็นกลางในสหชาตธรรมทั้งหลาย อันมา
( ในบาลี ) อย่างนี้ว่า" ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอิงวิเวก
อิงวิราคะ " ดังนี้เป็นต้น อุเบกขานี้ชื่อ โพชฌงคุเบกขา
ส่วนอุเบกขาใดได้แก่ความเพียร ไม่ตึงนักและไม่หย่อนนัก อัน
มา ( ในบาลี ) อย่างนี้ว่า " ภิกษุทำในใจถึงอุเบกขานิมิตอยู่ตลอด
เวลาตามกาลอันสมควร " ดังนี้เป็นต้น อุเบกขานี้ชื่อว่า วิริยุเบกขา
อุเบกขาใด คือวิปัสสนาปัญญาพิจารณาบาปธรรมและองค์