วิสุทธิมรรคแปล: กัลยาณมิตรและกรรมฐาน วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 35
หน้าที่ 35 / 324

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้ พบกับคำอธิบายเกี่ยวกับกัลยาณมิตร ผู้ที่เป็นมิตรที่ดีและมีคุณสมบัติในการช่วยเหลือผู้อื่น โดยอิงตามพระพุทธพจน์ กัลยาณมิตรเป็นผู้ที่มีคุณธรรม และเมื่อมีกรรมฐานในสำนักที่ถูกต้อง ตามแนวทางของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะนำไปสู่การพ้นจากความเกิด ในสมัยที่พระองค์ยังมีชีวิตอยู่ และหลังจากพระองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว ก็ยังมีพระมหาสาวกที่สามารถสืบทอดกรรมฐานได้อย่างถูกต้อง

หัวข้อประเด็น

- กัลยาณมิตร
- คุณธรรมของกัลยาณมิตร
- ความสำคัญของกรรมฐาน
- พระพุทธศาสนา
- แนวทางการปฏิบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 34 ดังกล่าวมานี้ ท่านผู้นี้ชื่อว่า กัมมฐานทายกะ ) ผู้ให้กรรมฐาน พระโยคาวจร จึงเข้าไปหาท่านผู้ให้กรรมฐานนั้น [กัลยาณมิตร] คำว่า ผู้เป็นกัลยาณมิตร คือผู้เป็นมิตรที่ดี ผู้ตั้ง (ตน) อยู่ใน ฝ่ายเจริญ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล (ผู้อื่น ) ไปฝ่ายเดียว กอบด้วยคุณ มีคุณอย่างนี้ คือ น่ารัก ๑ น่าเคารพ ๑ น่ายกย่อง ๑ เป็น ผู้ว่ากล่าว (คนอื่น ไม่เฉยเมย) ๑ เป็นผู้ยอม ให้ (คนอื่น) ว่ากล่าว ( ไม่หัวดื้อ) ๑ แต่ง ( ธรรม ) ถกาอันลึกซึ้งได้ ๑ ไม่ชักชวน (ผู้อื่น) ในที่อันไม่ควร ๑ เป็นอาทิ ก็เพราะพระพุทธพจน์ว่า ดูกรอานนท์ จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อาศัยเราเป็นกัลยาณมิตรแล้ว ย่อม พ้นจากความเกิดได้ ดังนี้เป็นต้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว จึงเป็นกัลยาณมิตรที่ถึงพร้อมด้วยอาการทั้งปวง เพราะเหตุนั้น เมื่อ พระองค์ยังเสด็จอยู่ กรรมฐานที่ถือเอาในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า นั้นเท่านั้น จึงเป็นอันถือเอาอย่างดี แต่เมื่อพระองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว บรรดาพระมหาสาวก ๘๐ องค์ พระมหาสาวกองค์ใดยังทรงชีพอยู่ ถือเอา ( กรรมฐาน ) ในสำนักพระมหาสาวกองค์นั้น จึงควรแม้นพระ มหาสาวกนั้นไม่มี ตนใคร่จะถือกรรมฐานบทใด ก็พึงถือเอาในสำนัก พระขีณาสพผู้ที่ทำจตุกฌานหรือปัญจกฌานให้เกิดด้วยอำนาจ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More