อานิสงส์เจริญธรรมานุสสติ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 301
หน้าที่ 301 / 324

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงอานิสงส์ของการเจริญธรรมานุสสติ ซึ่งทำให้ภิกษุมีความเคารพในพระศาสดาและตระหนักถึงพระธรรม โดยเฉพาะเมื่อมีการระลึกถึงคุณของพระธรรม จิตใจของผู้มีธรรมานุสสติจะน้อมไปสู่การบรรลุธรรมที่สูงส่งและสามารถอดกลั้นต่อความกลัวและทุกข์ได้ นอกจากนี้ยังส่งผลให้ผู้ที่ระลึกถึงสามารถมีสุคติในอนาคต หลักการนี้เน้นการไม่ประมาทในธรรมานุสสติที่สามารถพัฒนาจิตใจได้ทุกเมื่อ

หัวข้อประเด็น

-อานิสงส์ของธรรมานุสติ
-ความเคารพในพระศาสดา
-การตระหนักถึงพระธรรม
-การบรรลุอนุตตรธรรม
-การเป็นผู้ไม่ประมาทในธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 299 (อานิสงส์เจริญธรรมานุสสติ ก็แลภิกษุผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งธรรมานุสสตินี้ ย่อมเป็นผู้มี ความเคารพมีความยำเกรงในพระศาสดา ทําความตระหนัก และ อ่อนน้อมในพระธรรม ด้วยระลึกถึงพระธรรมคุณ โดยนัย ( สักกภาษิต ในมหาโควินทสูตร ) ว่า" เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาผู้แสดงธรรมอัน เป็นโอปนยิกะอย่างนี้ ผู้แม้ประกอบด้วยองค์นี้ในกาลส่วนที่เป็นอดีต เลย ในกาลบัดนี้เล่า เราก็ไม่พิจารณาเห็น เว้นแต่พระผู้มีพระภาค เจ้านั้น " ดังนี้ ย่อมได้ความไพบูลย์แห่งคุณมีศรัทธาเป็นต้น เป็นผู้ มากไปด้วยปีติปราโมทย์ ทนต่อความกลัวและความตกใจ สามารถ อดกลั้นทุกข์ มีความรู้สึก ( เสมือน) ว่าได้อยู่กับพระธรรม อนึ่ง แม้ สรีระของเธออันธรรมคุณานุสสติประทับอยู่ ย่อมเป็นร่างควรแก่การ บูชาดุจเรือนพระเจดีย์ จิต ( ของเธอ ) ย่อมน้อมไปในอันจะบรรลุ ( ให้ ถึง ) อนุตตรธรรม อนึ่ง ในเมื่อมีการประจวบเข้ากับวัตถุที่จะพึงล่วง ละเมิด หิริโอตตัปปะย่อมปรากฏแก่เธอผู้ระลึกถึงความเป็นธรรมดี แห่งพระธรรมได้อยู่ อนึ่ง เมื่อยังไม่บรรลุคุณอันยิ่งขึ้นไป เธอย่อม เป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า เพราะเหตุนั้นแล ผู้มีปัญญาดี พึงทำความ ไม่ประมาทในธรรมานุสสติ อันมีอานุภาพมาก อย่างนี้ ทุกเมื่อเทอญ นี้เป็นกถามุข ( คำแก้ข้อที่สำคัญ) อย่างพิสดาร ในธรรมานุสสติ * ที.มหา ๑๐/๒๖๑
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More