การวิเคราะห์สมุปสาทน์และเจตโสในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 166
หน้าที่ 166 / 324

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอความสำคัญของสมุปสาทน์ในวิสุทธิมรรค โดยเน้นถึงการที่ศรัทธาและฌานเรียกว่า 'สัมปสาทนะ' อันเนื่องจากความใสผ่องของใจควบคู่ไปกับการวิเคราะห์เจตโสในอรรถวิกัป การแสดงถึงคุณลักษณะและความสำคัญของการเป็นเลิศในธรรมเพื่อจิตที่สุขสงบและปราศจากวิตกวิจาร ซึ่งคำว่า 'เอโกทิ' มีความหมายถึงความเป็นเอกและยิ่งใหญ่ในธรรม ซึ่งช่วยให้รับรู้ว่าใครที่ยังไม่ถูกวิตกครอบงำ ก็สามารถเข้าถึงความเป็นหนึ่งได้ การศึกษาเชิงลึกนี้จะนำไปสู่การเข้าใจการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ดียิ่งขึ้น

หัวข้อประเด็น

-สมุปสาทน์
-เจตโส
-วิสุทธิมรรค
-ฌาน
-ความใสผ่อง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 164 ( แก้ สมุปสาทน์ ) บท สมุปสาทน์ มีวินิจฉัยว่า ศรัทธาท่านเรียกว่า สัมปสาทนะ แม้ฌานก็เรียกสัมปสาทนะ เพราะประกอบด้วยความใสผ่อง ดุจผ้า ที่เรียกว่าผ้าเขียว ก็เพราะประกอบด้วยสีเขียว ฉะนั้น อีกนัยหนึ่ง เพราะเหตุที่ฌานนั้นย่อมยังใจให้ใสผ่อง เพราะตัวเองก็ประกอบไป ด้วยความผ่องใสด้วย เพราะความกำเริบ ( แห่งจิต ) ด้วยวิตกวิจาร ระงับไปด้วย เพราะเหตุนั้นประการหนึ่ง ฌานนั้นท่านเรียกว่า " สัมปสาทนะ " ( เครื่องยังใจให้ผ่องใส) ก็แลในอรรถวิกัปนี้ ปราชญ์พึงทราบบทสัมพันธ์ดังนี้ว่า สมุปสาทน์ เจตโส (ทุติยฌาน เครื่องยังใจให้ใสผ่อง) ส่วนในอรรถวิกัปก่อน บทว่า เจตโส นั้น พึงประกอบเข้ากับอโกทิภาวศัพท์ ( แก้ เจตโส เอ โกทิภาว์ ) (ต่อไป) นี้เป็นอรรถโยชนา ( คำประกอบความ ) ในเอโกทิภาว ศัพท์นั้น ธรรมใดเป็นหนึ่งผุดขึ้น เหตุนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อ เอโกทิ หมายความว่า เป็นเลิศ เป็นใหญ่ผุดขึ้น เพราะไม่ถูกวิตกวิจารขึ้น ครอบงำ แท้จริง คนผู้เป็นใหญ่ก็เรียกได้ว่าผู้เป็นหนึ่งในโลก หรือ จะกล่าวว่า "คนผู้ไร้จากวิตกวิจารแล้ว ก็เป็นหนึ่ง คือไม่มีสหาย" ดังนี้บ้างก็ได้ อีกนัยหนึ่ง ธรรมใดยังสัมปยุตธรรมทั้งหลายให้อุทัย เหตุนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่า อุทิ หมายความว่า ยังสัมปยุตธรรมให้ตั้ง ขึ้น ธรรมนั้นเป็นเอก ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ด้วย เป็นอุทิด้วย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More