วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - กัมมฐานคหณนิเทส วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 2
หน้าที่ 2 / 324

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้นำเสนอการอธิบายเกี่ยวกับสมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ในพระบาลี ซึ่งมีความสำคัญต่อการบำเพ็ญในทางโยคะ การตั้งมั่นในศีล และความพยายามบรรลุธรรมตามที่พระองค์ได้สอน. สาระสำคัญคือ การเข้าใจสมาธิไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีการบำเพ็ญและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง การวิเคราะห์คาถาเพื่อความเข้าใจที่ลึกซึ้งมากขึ้นก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ผู้บำเพ็ญสามารถเข้าถึงและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง.

หัวข้อประเด็น

-สมาธิ
-การบำเพ็ญ
-โยคาวจร
-การรักษาศีล
-พระบาลี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 1 วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ กัมมฐานคหณนิเทส เพราะเหตุที่สมาธิ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ด้วยหัวข้อ คือ จิต ตามพระบาลี ( นิกเขปบท ) ว่า สีเล ปติฏฺฐาย นโร สปญฺโญ จิตต์ ปญฺญฺจ ภาว นั้น อันพระโยคาวจรผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลนี้ ที่ผ่องแผ้วด้วยคุณทั้งหลาย มีความมักน้อยเป็นต้น อันตนทำให้ถึงพร้อมด้วยการรักษาธุดงค์อย่างนี้ แล้วควรบำเพ็ญต่อไป ก็แต่ว่าสมาธินั้น ไม่ง่ายแม้เพียงจะเข้าใจ จะกล่าวไยถึงจะบำเพ็ญเล่า เพราะทรงแสดงไว้ (ในพระคาถานั้น) ย่อนัก เพราะเหตุนั้น เพื่อแสดงความพิสดาร และนัยแห่งการ บำเพ็ญสมาธินี้ จึง (ขอ) ตั้งปัญหาขึ้นดังนี้ คือ (๑) อะไร เป็น * คาถานี้ บาทต้นเป็นอินทรเชียรฉันท์ บาทนอกนั้นเป็นปัฐยาวัตรฉันท์ คาถานี้จะ เป็นปัฐยาวัตรทั้ง ๔ บาท ถ้าตัด นโร หรือ สปญฺโญ ในบาทต้นนั้นออกไปเสียบทใดบทหนึ่ง ถ้าตัด นโร ออก ก็ยก ภิกขุ เป็นประธาน ยิ่งได้ความดีขึ้น เพราะไม่มี นโร อยู่ขัดเชิง แล้วนิปผันนรูป สปญฺโญ ที่ยังผิดอักขรวิธีอยู่เพราะฉันทานุรักษ์นั้น ก็ทำเสียให้ถูกเป็น สรุปญฺโญ ได้ ส่วนปัญหาว่าอักขระเกินไป ๑ คือเป็น 8 ไปนั้น ข้อนี้ท่านอนุญาต เมื่อ ไม่ขัดอุจจารณวิธี คือเชิงสวด มีตัวอย่างมาก เช่นบทคาถาว่า อริยจิตตกโร สิยา แม้ ในคาถานี้ บาทท้าย คือ โส อิมิ วิชฎเย ชฎ์ ก็เป็น 8 ( เคยเห็นเป็น วิชเฏ ก็มี เช่นนี้ ก็ได้ ๘ พอดี หรือจะสนธิ โส อิม เป็น โสม เสียไม่ต้องแก้ วิชฏเย ก็ได้เหมือนกัน )
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More