วิสุทธิมรรค: ความหมายของกายคตาสติและอานาปานสติ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 249
หน้าที่ 249 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้ได้อธิบายถึงคำว่า มรณานุสติ ซึ่งเป็นสติที่เกี่ยวกับความตาย รวมถึง กายคตาสติ ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้สรีระ กายที่มีปฏิกูลเป็นอารมณ์ และ อานาปานสติ ที่เน้นการตระหนักรู้ในลมหายใจเข้าและออก นอกจากนี้ยังมีอุปสมานุสติ ที่ยอมนำไปสู่การนิพพานซึ่งเป็นธรรมระงับทุกข์ ทั้งนี้ ผู้ที่มุ่งมั่นในการเจริญพุทธานุสติจึงควรเริ่มจากการพัฒนาสติไปที่กายและลมหายใจในแบบที่ถูกต้อง เพื่อเข้าถึงประสบการณ์ที่แท้จริงในทางจิตวิญญาณ โดยเฉพาะการมีนิมิตและการสนใจอย่างลึกซึ้งในหลักธรรมเหล่านี้

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของกายคตาสติ
-อานาปานสติและการตระหนักรู้ในลมหายใจ
-ประโยชน์ของอุปสมานุสติ
-บทบาทของสติในทางพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

* ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 247 นุสตินั่น เป็นคำเรียกสติอันมีคุณมีศรัทธาเป็นต้นของตน ตั้งเทวดาไว้ ในฐานะพยานเป็นอารมณ์ สติอันปรารภความตายเกิดขึ้น ชื่อ มรณานุสติ คำว่า มรณา นุสตินั่น เป็นคำเรียกสติอันมีความขาดแห่งชีวิตินทรีย์เป็นอารมณ์ สติชื่อกายคตา เพราะไปสู่รูปกายอันต่างโดยโกฏฐาสมีผมเป็นต้น หรือว่า เพราะไปในกาย เมื่อควรจะกล่าว(วิเคราะห์ ) ว่า กายคตา จ สา สติ จาติ กายคตาสติ (สตินั้นด้วย ไปในกายด้วย เหตุนั้น จึงชื่อว่ากายคตสติ แต่ท่านไม่ทำรัสสะ กล่าวว่า กายคตาสติคำว่า กายคตาสตินั่น เป็นคำเรียกสติอันมี (ปฏิกูล) นิมิตในโกฐาสแห่ง กายมีผมเป็นต้นเป็นอารมณ์ สติอันปรารภลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเกิดขึ้น ชื่ออานา ปานสติ คำว่า อานาปานสตินั่น เป็นคำเรียกสติอันมีนิมิตในลม หายใจเข้าและลมหายใจออกเป็นอารมณ์ อนุสติอันปรารภอุปสมะเกิดขึ้น ชื่อว่าอุปสมานุสติ คำว่า อุปสมานุสตินั่น เป็นคำเรียกสติอันมีพระนิพพานซึ่งเป็นธรรมระงับแห่ง สรรพทุกข์เป็นอารมณ์ [วิธีเจริญพุทธานุสติ] ในอนุสติ ๑๐ มีประการดังกล่าวมานี้ พระโยคาวจรผู้กอปรด้วย ความเลื่อมใสมั่น ใคร่จะเจริญพุทธานุสสติเป็นอันดับแรก จึงเป็นผู้ มหาฎีกาว่า กายคตาสติ และอานาปานสติ ๒ นี้ มีนิมิตเกิด ท่านจึงว่า ท่านจึงว่า มีนิมิตใน โกฐาส... เป็นอารมณ์ และว่ามีนิมิตในลมหายใจ.... เป็นอารมณ์ อนุสตินอกนั้นไม่ มีนิมิตเกิด
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More