วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - อาการปฏิกูล วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 223
หน้าที่ 223 / 324

สรุปเนื้อหา

บทความนี้ให้การอธิบายเกี่ยวกับการทำความเข้าใจอาการปฏิกูลซึ่งเป็นปัจจัยทำให้จิตแกว่งไปมา ข้อมูลจากอรรถกถามัชฌิมนิกายเบื้องต้นและข้อควรปฏิบัติในการถือเอานิมิตโดยอาการ ๕ โดยเฉพาะกับผู้ที่มีประสบการณ์ในกรรมฐานและชีวิตสมณะ พร้อมยกตัวอย่างว่าการกำหนดดูนิมิตมีข้อเสนอที่หลากหลายซึ่งสามารถนำไปสู่การฝึกจิตที่ดีขึ้น ดึงดูดนักปฏิบัติธรรมให้เข้าใจและเข้าถึงสภาวะที่แท้จริงได้มากยิ่งขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-อาการปฏิกูล
-นิมิตและการเจริญสมาธิ
-กรรมฐานและสมณะธรรม
-การปรับจิตและการปฏิบัติ
-พระพุทธเจ้าและประสบการณ์ในอดีต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 221 (อาการปฏิกูล ) มีแต่จะเป็นปัจจัยแห่งความ ( ใจ ) แกว่งไปต่าง ๆ เพราะท่านกล่าวไว้ในอรรถกถามัชฌิมนิกายว่า " สตรีแม้ ( ตายจน) ขึ้นพองแล้วก็ยังยึดจิตบุรุษไว้อยู่ เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรจึงถือเอา นิมิตโดยอาการ 5 แต่ในร่างที่เป็นเพศเดียวกันเถิด [ถือ โดยอาการ ๕ เพิ่มเติม] ฝ่ายว่ากุลบุตรใด ( เคย ) เสพกรรมฐาน บริหารธุดงค์ มหาภูต (โดยจตุธาตุววัฏฐาน) จับสังขาร ( โดยลักขณญาณ ) กำหนดนามรูป เพิกสัตตสัญญา ทำสมณธรรม อบรมวาสนา บำเพ็ญ ภาวนามาแล้วในสำนักของพระพุทธเจ้าในปางก่อนทั้งหลาย เป็นผู้มีพืช (คือกุศลอันเป็นอุปนิสัยทางวิวัฏฏะ) เป็นผู้มีญาณยิ่ง มีกิเลสน้อย ปฏิภาคนิมิตย่อมปรากฏแก่กุลบุตรผู้นั้นได้ทุกที่ๆ เธอได้ดู (อสุภ ) ถ้า ไม่ปรากฏ ( โดยง่าย ) อย่างนั้น ครั้นเธอถือเอานิมิตโดยอาการ 5 ที่ กล่าวมาแล้วนั้น ก็จะปรากฏได้ แต่แม้ ( ถือเอาโดยอาการ ๖) อย่างนั้น ก็ยังไม่ปรากฏแก่กุลบุตรใดกุลบุตรนั้นจึงควรถือเอานิมิตโดยอาการ ๕ ด้วยอีก คือ โดยที่ต่อ โดยช่อง โดยที่เว้า โดยที่นูน โดยรอบตัว โดยที่ต่อ ในข้อเหล่านั้น ข้อว่า โดยที่ต่อ ได้แก่โดยที่ต่อ ๑๘๐ แห่ง แต่ว่าพระโยคาวจรจักกำหนดดูที่ต่อ (ตั้ง ) ๑๘๐ แห่งในอุทธุมาตกอสุภ อย่างไรได้ เพราะฉะนั้นจึงกำหนดโดยที่ต่อแต่ตามที่ต่อใหญ่ ๑๔ แห่ง มหาฎีกาเสริมความว่า ไม่ต้องเลือกกาล หรือสถานที่เป็นพิเศษแต่อย่างไร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More