ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที 130
กามนั้น แท้จริง ฌานนี้ชื่อว่าเป็นเหตุออกไปแห่งกามทั้งหลาย
เท่านั้น เพราะเป็นทางก้าวล่วงกามธาตุ และเพราะเป็นปฏิปักษ์
ต่อกามราคะ ดังพระสารีบุตรกล่าวไว้ (ในปฏิสัมภิทา ) ว่า " ธรรม
ชาตินั่นเป็นนิสสรณะแห่งกามทั้งหลาย ธรรมชาตินี้คืออะไร ? ธรรม
ชาตินี้คือเนกขัมมะ " " ดังนี้ แต่ทว่า เอวศัพท์ในปาฐะนี้ ควร
(นำมา) กล่าวแม้ในบทหลังด้วย ดุจเดียวกันกับเอวศัพท์ในปาฐะนี้ว่า
"อิเธว ภิกฺขเว ปรโม สมโณ อิธ ทุติโย สมโณ" ซึ่ง
ท่านนำมากล่าวในบทหลังด้วย เพราะว่าใคร ๆ หาอ
หาอาจที่จะไม่สงัด
จากธรรมทั้งหลายอันเป็นอกุศล กล่าวคือนิวรณ์ข้ออื่นๆ แต่กามฉันท์
นี้แล้วเข้าถึงฌานอยู่ได้ไม่ เพราะเหตุนั้น เอวศัพท์นั้น บัณฑิต
พึงเห็น (ว่าท่านกล่าว) ในบททั้ง ๒ ว่า " วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจเจว
อกุสเลหิ ธมฺเมหิ " ดังนี้เถิด
อนึ่ง วิเวกทั้งหลาย (ประเภท ๕ ) มีตทังควิเวกเป็นต้นก็ดี
( ประเภท ๓) มีจิตตวิเวกเป็นอาทิก็ดี ย่อมสงเคราะห์เข้าได้ทั้งหมด
ด้วยสาธารพจน์ ว่า "วิวิจจ' นี้ทั้ง ๒ บทก็จริงอยู่ถึงอย่างนั้นบัณฑิต
ก็พึงเห็น (ว่า) ในฌานกถานี้ ได้แก่ ) วิเวก ๓ คือ กายวิเวก จิตต
วิเวก วิขัมภนวิเวก เท่านั้น
Q.
ปาฐะที่ถูกต้อง ติ ติดกับบทหลัง เป็นศัพท์สมาส ฎีกาก็แก้ในรูปนั้น คือเขียนเป็น
ตนนิสสรณ์
๒. หมายความว่า มิได้เป็นนิสสรณะแห่งนิวรณ์ข้ออื่น ๆ คือว่า ฌานนี้เป็นข้าศึก
โดยตรงต่อกามราคะ เช่นเดียวกับเมตตา เป็นข้าศึกโดยตรงต่อพยาบาทเป็นต้น ฉะนั้น
๓. เคยบอกมาแล้วว่า เนกขัมมะนี้ หมายเอาฌานนั่นเอง