วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 295
หน้าที่ 295 / 324

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงแนวทางการปฏิบัติทางกลางที่ไม่ไปสุดโต่งของอริยมรรคซึ่งเป็นธรรมชาติอันแท้จริง มุ่งเน้นถึงการระงับกิเลสและการบรรลุพระนิพพาน สวากขาตะเป็นคำที่ใช้ในการอธิบายสภาพที่เป็นเอกลักษณ์ การพิจารณาและเห็นความจริงในธรรมของพระอริยบุคคลเป็นเรื่องสำคัญในพุทธศาสนา เพื่อให้เข้าถึงความหยุดนิ่งในจิตใจและหลีกเลี่ยงจากสุดโต่งทั้งสองข้างอย่างชัดเจน การวินิจฉัยในบทว่า สนฺทิฏฐิโก แสดงถึงการเห็นเองในธรรมที่สำคัญนี้เพื่อการบรรลุธรรมอันสูงสุด.

หัวข้อประเด็น

-สวากขาตะ
-อริยมรรค
-พระนิพพาน
-ความเห็นในธรรม
-การปฏิบัติทางกลาง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 293 ทางกลางไม่ไปใกล้อันตะ (ที่สุดโต่ง ) ทั้ง ๒ ข้างนั้นเอง ชื่อว่า สวากขาตะ เพราะอริยมรรคนั้นแหละ ที่ตรัสว่าเป็นมัชฌิมาปฏิปทา สามัญผลทั้งหลายอันมีกิเลสระงับแล้วนั่นเอง ชื่อว่า สวากขาตะ เพราะ สามัญผลนั้นแหละ ที่ตรัสว่าเป็นธรรมชาติมีกิเลสระงับแล้ว พระ นิพพานอันเป็นสภาพเที่ยง สภาพ ไม่ตาย สภาพต้าน ( ทุกข์ ) และ สภาพที่ลี้ ( ทุกข์ ) นั่นเอง ชื่อว่า สวากขาตะ เพราะพระนิพพานนั้น แหละ ที่ตรัสโดยเป็นสภาพเที่ยงเป็นอาทิแลแม้โลกุตตรธรรมก็เป็น สวากขาตะ โดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้ [แก้บท สนฺทิฏฐิโก] ส่วนวินิจฉัยในบทว่า สนฺทิฏฐิโก นี้ พึงทราบ (ต่อไปนี้ ) (นัยที่ ๑ แปลว่า " พึงเห็นเอง "J ก่อนอื่น อริยมรรคชื่อว่า สนฺทิฏฐิโก เพราะเป็นธรรมอัน พระอริยบุคคลผู้ทำความไม่มีกิเลสมีราคะเป็นต้นในสันดานของตนอยู่ พึงเห็นเอง ดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า " ดูกรพราหมณ์ บุคคลผู้ กำหนัดแล้ว ถูกความกำหนัดครอบงำแล้ว มีจิตอันราคะยึดไว้รอบ แล้วนั่นแล ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น บ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนและคนอื่นทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง ย่อมได้เสวย * อันตะ ๒ คือ กามสุขัลลิกานุโยค และ อัตตกิลมถานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค เท่านั้น บรรดาสิ่งที่สุดโต่งไปคนละข้าง ท่านหมายเอาทั้งนั้น เช่น สัสสตะกับอุจเฉทะ ลีนะ (หดหู่) กับอุทธัจจะ (ฟุ้งซ่าน) ปติฏฺฐานะ (หยุด ไม่พยายาม) กับ อายุหนะ (พยายามไม่หยุด) เป็นอันตะทั้งนั้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More