การกำหนดดูในพระวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 224
หน้าที่ 224 / 324

สรุปเนื้อหา

ในเนื้อหานี้กล่าวถึงการกำหนดดูสรีระตามพระวิสุทธิมรรค โดยแบ่งออกเป็นหลายพื้นที่ เช่น ทางมือขวา มือซ้าย เท้าขวา เท้าซ้าย และช่องต่างๆ เช่น หว่างมือ หว่างเท้า ซึ่งการกำหนดดูนี้ช่วยให้ผู้ปฏิบัติมีความตระหนักในสรีระของตน นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอวิธีการกำหนดดูตามลักษณะต่างๆ เช่น โดยที่เว้า โดยที่นูน และโดยรอบตัว เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถพัฒนาจิตตภาวนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ.

หัวข้อประเด็น

-การกำหนดดูสรีระ
-พระวิสุทธิมรรค
-ช่องและพื้นที่ในการปฏิบัติ
-ความสำคัญของการตระหนักในร่างกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 222 ดังนี้ คือ ที่ต่อทางมือขวา ๓ ที่ต่อทางมือซ้าย ๓ ที่ต่อทางเท้าขวา ๓ ကေ ทีต่อทางเท้าซ้าย ๓ ทีต่อคอ ๑ ทีต่อสะเอว ๑ โดยช่อง ข้อว่าโดยช่อง คือหว่างมือ หว่างเท้า หว่างท้อง หว่างหู เป็นต้น ชื่อว่าช่อง พระโยคาวจรจึงกำหนดดูโดยช่องอย่างนั้นเถิด แม้ ความที่ในตาหลับก็ดี เหลือก็ดี แม้ความที่ปากหุบก็ดี อ้าก็ดี ก็พึง กำหนดดู ( ด้วย ) โดยที่เว้า ข้อว่าโดยที่เว้า คือ ที่ใดเป็นที่หลงในสรีระ ได้แก่เบ้าตาก็ดี ข้างในปากก็ดี หลุมคอก็ดี พึงกำหนดดูที่นั่น อีกนัยหนึ่งพึงกำหนด ว่า " เรายืนอยู่ที่ลุ่ม ซากศพอยู่ที่ดอน' โดยที่นูน ข้อว่าโดยที่นูน คือที่ใดเป็นที่สูงขึ้นในสรีระ ได้แก่หัวเข่าก็ดี อกก็ดี หน้าผากก็ดี พึงกำหนดดูที่นั้น อีกนัยหนึ่งพึงกำหนดว่า " เรายืนอยู่ที่ดอน ซากศพอยู่ที่ลุ่ม " โดยรอบตัว ข้อว่า โดยรอบตัว ความว่า พึงกำหนดดูร่างทั้งหมดโดยรอบ คือพึงยังญาณให้ท่องเที่ยวไปในร่างทั้งสิ้น แห่งใดปรากฏเป็นอุทธ มาตกะชัด ก็ตั้งจิตบริกรรมว่า อุทธุมาตก อุทธุมาตก ที่แห่งนั้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More