วิสุทธิมรรคแปล: การเสวยสุขในตติยฌาน วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 180
หน้าที่ 180 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวข้องกับการเข้าใจในความสุขที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติในตติยฌานที่ลึกซึ้ง และการที่พระโยคาวจรสามารถเข้าถึงความสุขดังกล่าวได้ โดยอ้างอิงถึงคำสอนจากพระพุทธองค์ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสติสัมปชัญญะในการเข้าถึงจิตจดจ่อและการเสวยสุขในรูปแบบที่แตกต่างกัน สถานะของสุขและความรู้สึกทางกายจะถูกพูดถึงในมิติที่ลึกซึ้งและเชื่อมโยงกับความสุขที่นิ่งสงบโดยแท้ ทั้งนี้เนื้อหายังพรั่งพร้อมด้วยการชี้แนะในปาฐะและการแสดงออกถึงคุณค่าของผู้ที่มีประสบการณ์ในตติยฌาน ตามบทบาทของพระอริยะและผู้ปฏิบัติที่สามารถสรรเสริญในการเปิดเผยความจริงเหล่านี้

หัวข้อประเด็น

-ความสุขในตติยฌาน
-การมีสติสัมปชัญญะ
-บทบาทของพระโยคาวจร
-การวินิจฉัยในปาฐะ
-การสรรเสริญคุณค่าของผู้ปฏิบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 178 สุขหวานนัก เพราะไม่มีสุขยิ่งกว่านั้น แต่ว่าความไม่ติดใจในสุขใน ตติยฌานนี้ ย่อมมีได้ด้วยอานุภาพสติสัมปชัญญะ มิใช่ด้วย ประการอื่น ดังนี้แล (แก้ สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ) บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในปาฐะว่า สุขญฺจ กาเยน ปฏิส์เวเทติ นี้ (ต่อไป ) ความคำนึงถึงการเสวยสุขย่อมไม่มีแก่พระโยคาวจรผู้ได้ ตติยฌานโดยแท้ แม้เช่นนั้น เพราะเหตุที่เธอพึงได้เสวยสุขอัน สัมปยุตด้วยนามกายของเธอ อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่รูปกายของ เธอมี อติปณีตรูปอันมีความสุขที่สัมปยุตด้วยนามกายนั้นเป็นสมุฏฐาน ถูกต้อง ( ซาบซ่าน ) แล้ว ซึ่งเพราะความที่รูปกายมีอติปณีตรูปถูก ต้อง แม้ออกจากฌานแล้ว เธอก็ยังรู้สึกเป็นสุข เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจะแสดงความข้อนั้น ( คือการเสวยสุขด้วยนามกาย และรูปกายทั้ง ๒ นัย) จึงตรัสว่า สุขญจ กาเยน ปฏิสเวเทติ (เสวยสุขด้วยกายด้วย ) ดังนี้ (แก้ ยนฺติ อริยา ฯเปฯ สุขวิหารี ) พึงทราบวินิจฉัยในปาฐะว่า " ยนต์ อริยา ฯเปฯ สุขวิหารี " นี้ต่อไป บัณฑิตพึงทราบโยชนา (การประกอบความ) ในปาฐะนี้ดังนี้ ว่า " เพราะ (ตติย ) ฌานใดเป็นเหตุ เพราะ (ตติย) ฌานใดเป็น การณ์ พระอริยะทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมกล่าวแสดง แต่งตั้ง เปิดเผย ทำให้ตื้น หมายความว่าประกาศสรรเสริญซึ่งบุคคล ผู้ได้ตติยฌานนั้น ถามว่าสรรเสริญอย่างไร ? ตอบว่าสรรเสริญว่า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More