ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 253
ของเขา เป็นกรรมภพ ขันธ์ทั้งหลายอันเกิดเพราะกรรมเป็นอุปบัติภพ
ความเกิดแห่งขันธ์ทั้งหลายเป็นชาติ ความหง่อมไป (แห่งขันธ์ ) เป็น
ชรา ความสลายไป ( แห่งขันธ์ ) เป็นมรณะ " (กามุปาทานเป็นปัจจัย
แห่งภพเป็นต้นดังนี้ ) นัยแม้ในการประกอบ (ความ) อันมีอุปาทาน
ที่เหลือเป็นมูล ก็ดุจนัยนี้
(ต่อไปนี้ ท่านชักเอาบาลีในปฏิสัมภิทามรรคมากล่าวย้ำความเรื่อง
ธรรมเหล่านี้เป็นปัจจัยเนื่องกันไป โดยเรียกความกำหนดรู้ในเรื่องนี้ว่า
ธรรมฐิติญาณ แล้วสรุปเป็นสังเขปเป็นต้น ดังนี้ ) โดยนัยดังนี้ ปัญญา
ในการกำหนดจับปัจจัยว่า " อวิชชาเป็นเหตุ สังขารเป็นเหตุสมุบัน
(เกิดแต่เหตุ ) อวิชชาและสังขารทั้ง ๒ นั้น ก็เป็นเหตุสมุบันด้วยกัน
นี้ชื่อธรรมฐิติญาณ ปัญญาในการกำหนดจับปัจจัยว่า " อวิชชาเป็น
เหตุสังขารเป็นเหตุสมุบัน อวิชชาและสังขารทั้ง ๒ นั้น ก็เป็นเหตุ
สมุบันด้วยกันทั้งในกาลอดีตทั้งในกาลอนาคต "ชื่อว่าธรรมฐิติญาณ
แล” บททั้งปวง บัณฑิตพึง (กล่าว) ให้พิสดาร โดยนัยนี้เทอญ
ในธรรมเหล่านั้น อวิชชากับสังขารเป็นสังเขป ๑ วิญญาณ
นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา เป็นสังเขป ๑ ตัณหา อุปาทาน
ภพ เป็นสังเขป ๑ ชาติชรามรณะ เป็นสังเขป ๑ อนึ่ง ใน 4 สังเขป
นั้น สังเขปแรกเป็นอดีตอัทธา (อดีตกาล ) สังเขปกลาง ๒ เป็นปัจจุบัน-
อัทธา ชาติชรามรณะ เป็นอนาคตอัทธา อนึ่ง ในธรรมเหล่านั้น
๑. คือว่า สังขารเกิดแต่เหตุฉันใด แม้อวิชชาก็เป็นธรรมมีเหตุเหมือนกันฉันนั้น เหตุ
แห่งอวิชชาก็คืออาสวะ ดังกล่าวแล้ว
๒. ขุ. ป. ๓๑/๒๓