วิสุทธิมรรค: วิหารที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 81
หน้าที่ 81 / 324

สรุปเนื้อหา

บทนี้อธิบายเกี่ยวกับวิหารทั้งสองประเภทที่มีผลต่อการบำเพ็ญสมาธิ โดยเฉพาะวิหารที่ไม่เหมาะสม ซึ่งมีโทษจำแนกเป็นทั้งหมด ๑๘ ประการ เช่น ความเป็นวิหารใหญ่เกินไป, วิหารใหม่ที่ยังไม่สมบูรณ์, วิหารเก่าที่ชำรุด, ความใกล้ชิดกับเมืองหรือป่าไม้, และอื่นๆ ที่อาจรบกวนการทำสมาธิได้ ข้อควรคำนึงถึงคือการเลือกสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติธรรมที่มีความสงบและเสถียรภาพ เพื่อการเข้าถึงสภาวะจิตที่ดี.

หัวข้อประเด็น

-วิหารที่เหมาะสม
-วิหารที่ไม่เหมาะสม
-โทษของวิหาร
-การปฏิบัติสมาธิ
-การเลือกสถานที่ในการบำเพ็ญ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 79 ให้ไกล ( กว่านั้น ) ก็ได้ละวิหารอันไม่เหมาะสมแก่การบำเพ็ญ สมาธิเสีย แล้วพำนักอยู่ในวิหารที่เหมาะสมเถิด [วิหาร ไม่เหมาะสม] ในวิหารไม่เหมาะสมและวิหารเหมาะสม ๒ อย่างนั้น วิหาร ที่ประกอบด้วยโทษ ๑๘ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวิหาร ไม่ เหมาะสม นี้โทษ ๑๘ ประการในคำนั้น คือ (๑) มหนฺตตฺติ (๒) นวตต์ (๓) ชิณฺณกฤติ ความเป็นวิหารใหญ่ ความเป็นวิหารใหม่ ( ยังไม่แล้วดี ) ความเป็นวิหารเก่า ( ทรุดโทรมแล้ว ) (๔) ปนฺถสนุนิสฺสิตต์ ความเป็นวิหารติดทางเดิน (๕) โสณฺฑ์ วิหารมีตระพังน้ำ (๖) ปณฺณ์ วิหารมีไม้ใบ ( ที่เป็นผัก) (๒) ปุปุÀ วิหารมีไม้ดอก (๘) ผล วิหารมีไม้ผล (๕) ปฏฺฐนียตา ความเป็นวิหารที่คนทั้งหลายมุ่งมั่น (๑๐) นครสนฺนิสุสิตตา ความเป็นวิหารติดเมือง (๑๑) ทารุสนุนิสฺสิตตา ความเป็นวิหารติดป่าไม้ (๑๒) เขตฺตสนฺนิสฺสิตตา ความเป็นวิหารติดที่นา (ของชาวบ้าน ) (๑๓) วิสภาคาน ปุคฺคาลน์ ความเป็นวิหารมีบุคคลผู้เป็น อตฺถิตา วิสภาคกันอยู่
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More