ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที 234
(ห่างกัน ) องคุลี ๑ ๆ โดยนัยที่กล่าวในวิจนิททกอสุภะนั้นแหละ แล้ว
ยังมนสิการให้เป็นไปว่า วิกขิตตก ปฏิกูล วิกขิตตก ปฏิกูล
(วิกขิตตกอสุภปฏิกูลๆ ) อุคคหนิมิตใน กรรมฐานนี้ ปรากฏเป็นร่าง
มีรอยแยก (แตกระแหง ) ติดต่อปฏิภาคนิมิตจึงปรากฏเป็นร่างเต็มเรียบ
๓. หตวิกขิตตกอสุภกรรมฐาน
แม้หตวิกขิตตกอสุภ ก็หาได้ตามที่ทั้งหลายอันมีประการดังกล่าว
ในวิจฉัททกอสุภ เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจร จึงไป ณ ที่เหล่านั้น
ใช้คนให้ทำหรือทำเอง ให้มีระหว่างองคุลี ๑ ๆ โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้น
แล้วยังมนสิการให้เป็นไปว่า หตวิกขิตตก ปฏิกูล หตวิกขิตตก
ปฏิกูล ( หตวิกขิตตกอสุภปฏิกูลๆ ) ส่วนอุคคหนิมิตในกรรมฐานนี้
เป็นเหมือนร่างที่มีปากแผลถูกประหารติดอยู่ (แผลเป็น ?) ปฏิภาค
นิมิตจึงปรากฏเป็นร่างเต็มเรียบ
๔. โลหิตกอสุภกรรมฐาน
โลหิตกอสุภ ย่อมได้ในกาลที่เมื่ออวัยวะทั้งหลายมีมือและเท้า
เป็นต้นของบุคคลที่ถูกประหารในที่ต่างๆมีสนามรบเป็นอาทิ ขาดแล้ว
โลหิตไหลอยู่ หรือในกาลที่โลหิตไหลออกจากปากแผลของศพที่มีฝี
และต่อมแตกเป็นต้นเพราะฉะนั้น พระโยคาวจรเห็นโลหิตนั้นแล้ว
พึงยังมนสิการให้เป็นไปว่า โลหิตก ปฏิกูล โลหิตก์ ปฏิกูล
( โลหิตกอสุภปฏิกูลๆ ) อุคคหนิมิตในกรรมฐานข้อนี้ ปรากฏเป็น
ร่างมีอาการไหว เหมือนธงผ้าแดงต้องลม แต่ปฏิภาคนิมิตปรากฏ
เป็นร่างนิ่ง
* องคุลคุลบุตร์ ใช้ยมการ เพราะกระจุยกระจายอยู่หลายท่อนหลายชิ้น