วิสุทธิมรรคภาค ๑ ตอน ๒ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 228
หน้าที่ 228 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการอธิบายกรรมฐานและการถือเอานิมิตโดยอาการ ๑๑ ซึ่งมีความสำคัญในการฝึกจิต เพื่อให้บรรลุถึงธรรมวิเสส และพระอรหัต โดยการปฏิบัติธรรมนั้นจะต้องเพ่งจิตไปยังนิมิตอย่างมั่นคง อธิบายถึงผลดีของการพิจารณานิมิตและกรรมฐานที่ทำให้เกิดวิปัสสนาและการเจริญสติ เพื่อไม่ให้หลงทางในชีวิต เรียนรู้จากอรรถกถาของจารย์เพื่อการปฏิบัติอย่างถูกต้อง

หัวข้อประเด็น

-กรรมฐานและนิมิต
-การฝึกจิต
-ความสำคัญของการพิจารณา
-การบรรลุธรรมวิเสส
-การพัฒนาสติและปัญญา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 226 ไม่ฉันใด แม้เจ้าร่าง (นั่น) ก็ (ลุก) มาไม่ได้ฉันนั้น อันอาการที่ ปรากฏแก่ท่านนี้ เป็นอาการเกิดแต่สัญญา เป็นขึ้นเพราะสัญญาดอก กรรมฐานจะปรากฏแก่ท่านในวันนี้แล้ว ท่านอย่ากลัวเลยนะ ภิกษุ " ดังนี้แล้ว บรรเทาตาสะ ( ความสะดุ้งกลัว ) เสีย ยังหาสะ (ความร่าเริง ยินดี ) ให้เกิดขึ้นแล้ว ยังจิตให้เพ่งทั่วไปในนิมิตนั้นเถิด ( เมื่อทำ ได้) อย่างนี้ เธอก็จะได้บรรลุธรรมวิเสส ข้อว่าการกำหนดจำนิมิต โดยรอบ มีความไม่หลงเป็นประโยชน์นั้น พระอรรถกถาจารย์กล่าว หมายเอาคำ (ที่อธิบายมา) นี้ [อธิบายคำแก้ปัญหาว่า การถือเอานิมิตโดยอาการ ๑๑ มีประโยชน์อย่างไร] ก็พระโยคาวจร เมื่อยังการถือเอานิมิตโดยอาการ ๑๑ ให้สำเร็จ ชื่อว่านำกรรมฐานเข้าไปผูกไว้ได้ เพราะอุคคหนิมิตย่อมเกิดขึ้น แก่เธอ เพราะการลืมตาแลดู ( นิมิต ) เป็นปัจจัย เมื่อเธอยังมานัส (ภาวนาจิต ) ให้เพ่งทั่วไปในอุคคหนิมิตนั้น ปฏิภาคนิมิตจึงเกิด ยัง มานัสให้เพ่งทั่วไปในปฏิภาคนิมิตนั้น จึงถึงอัปปนา ตั้งอยู่ในอัปปนา ยังวิปัสสนาให้เจริญแล้ว จึงทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตได้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การถือเอานิมิตโดยอาการ ๑๑มีอันนำ (กรรมฐาน) เข้าไปผูกไว้ได้เป็นประโยชน์ [อธิบายคำแก้ปัญหาว่า การพิจารณาดูทางไปมามีประโยชน์อย่างไร ส่วนในข้อว่า การพิจารณาดูทางไปมามีอันยังกรรมฐาน (ที่ มหาฎีกาว่าหมายถึงสัญญาในบริกรรม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More