การแต่งวงกสิณชนิดเคลื่อนที่ได้และตั้งอยู่กับที่ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 96
หน้าที่ 96 / 324

สรุปเนื้อหา

บทนี้เกี่ยวกับการแต่งวงกสิณชนิดเคลื่อนที่และตั้งอยู่กับที่ โดยเสนอวิธีการเตรียมดินและวัสดุในการสร้างวงกสิณที่มีลักษณะกลม ในวงกสิณชนิดเคลื่อนที่จะใช้ท่อนผ้าเก่าหรือแผ่นหนัง ตรึงด้วยไม้ และนำดินที่บดละเอียดมาฉาบ ส่วนวงกสิณชนิดตั้งอยู่กับที่จะมีการตอกหลักและใช้เถาวัลย์ในการตรึงหลักให้แน่น โดยใช้ดินสีอรุณเพื่อสร้างสรรค์วงกสิณตามคำแนะนำของพระโบราณจารย์เพื่อให้ได้ขนาดที่เหมาะสม คำที่ใช้ในการอธิบายมีความสำคัญต่อการปฏิบัติให้ถูกต้องและเหมาะสมกับประเภทของกสิณที่ต้องการสร้าง ซึ่งจำเป็นต้องมีกัปปิยการกช่วยในการดำเนินการ.

หัวข้อประเด็น

-การแต่งวงกสิณเคลื่อนที่
-การแต่งวงกสิณตั้งอยู่กับที่
-วิธีเลือกวัสดุในการสร้างกสิณ
-การเตรียมดินและขนาดของวงกสิณ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 94 ทำเป็นชนิดเคลื่อนที่ได้ก็ได้ เป็นชนิดตั้งอยู่กับที่ก็ได้ (วิธีแต่งวงกสิณชนิดเคลื่อนที่ได้ ใน (วง ) กสิณ ๒ ชนิดนั้น ชนิดเคลื่อนที่ได้ จึงผูกท่อนผ้า เก่า หรือแผ่นหนัง หรือเสื่อลำแพนก็ได้ เข้าที่ไม้ ( สะดึง) 4 อัน แล้ว เอาดินที่เก็บรากหญ้า ก้อนกรวดและทราย ( หยาบ ) ออก แล้ว ขยำดีแล้วมาฉาบแต่งให้เป็นแผ่นกลมได้ขนาดดังกล่าวมาแล้ว ลงในท่อนผ้าเก่าหรือแผ่นหนัง หรือเสื่อลำแพนที่ตรึงไว้นั้น (วง) กสิณชนิดเคลื่อนที่ได้นั้น เวลาจะบริกรรม จึงวางราบลงที่พื้นแล้ว จึง ( เพ่ง ) ดู [วิธีแต่งวงกสิณชนิดตั้งอยู่กับที่ (วง) กสิณชนิดตั้งอยู่กับที่ จึงตอกหลักเข้าหลายๆ อันลงที่ พื้นดินโดยอาการแห่งฝักบัว ( คือตอกให้ข้างล่างสอบข้างบนผาย โดยรอบ สัญฐานดังฝักบัว) แล้วตรึง (หลักเหล่านั้นให้ติดกัน) ด้วยเถาวัลย์ แต่ง ( เป็นโครง) ขึ้น ผิว่าดิน ( ในที่) นั้นไม่พอ จึง ใช้ของอื่นรองข้างล่างแล้ว จึงแต่งกสิณให้มีสัณฐานกลม กว้าง ประมาณ ๑ คืบ 4 นิ้ว ด้วยดินสีอรุณที่ชำระดีแล้วลงข้างบน อันที่จริง คำว่า " ขนาดเท่ากะโล่ หรือขนาดเท่าชามอ่าง " (นั้น) พระ โบราณจารย์กล่าวหมายเอาประมาณ ๑ คืบ 4 นิ้ว) นี้นั่นเอง ส่วนคำว่า " เป็นดินมีที่สุด มิใช่ ( กว้างใหญ่จน ) ไม่มีที่สุด " ๑. การแต่งกสิณชนิดนี้เห็นจะต้องมีกัปปิยการกช่วยทำ เพราะมีการขุดดินและตัด เถาวัลย์ ?
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More