วิสุทธิมรรค: กฎเกณฑ์และฌาน วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 130
หน้าที่ 130 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในหน้านี้กล่าวถึงการกำหนดกาลในสถานที่ต่างๆ และหลักการปฏิบัติฌานตามวิสุทธิมรรค โดยเน้นว่าผลทางจิตที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติที่เข้าถึงฌาน ปฐมฌาน รวมถึงการเข้าใจในตำแหน่งและความสำคัญของฌานในกระบวนการปฏิบัติทางจิต นอกจากนี้ยังอธิบายถึงลักษณะของปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากการถือสติอยู่ในความสงบทั้งกามและอกุศล

หัวข้อประเด็น

-กำหนดกาลในสถาน
-ฌานและผลของการปฏิบัติ
-ปฐมฌานและลักษณะสำคัญ
-ปัจจัยในการเข้าถึงนิโรธ
-การสงัดจากกามและธรรมที่เป็นอกุศล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

* ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 128 กำหนดกาลในสถาน ) หามีไม่ คือในปฐมอัปปนา (๑) ในโลกีย อภิญญาทั้งหลาย ( ๑ ) ลาย (๑) ในมรรคสี่ (๑) ในผลอันเป็นลำดับแห่ง มรรค (๑) ในภวังคฌานในรูปารูปภพ (๑) ในเนวสัญญานาสัญญา ยตนะอันเป็นปัจจัยแห่งนิโรธ (๑) ในผลสมาบัติแห่งท่านผู้ออกจาก นิโรธ (๑) ในสถานเหล่านั้น ผลอันเป็นลำดับแห่งมรรคาหามีเหนือ ๓ ชวนะไปไม่ เนวสัญญานาสัญญายตนะอันเป็นปัจจัยแห่งนิโรธก็หา มีเหนือ ๒ ชวนะ ไม่ ภวังคฌานในรูปารูปภพนับประมาณ ( ขณะ จิต ) ไม่ได้ ในสถานที่เหลือ (๔) มี ( ขณะ) จิตเดียวเท่านั้นแล อัปปนาเป็นไปในขณะจิตเดียวดังกล่าวมาฉะนี้ ต่อนั้นก็เป็นภวังคบาต ครั้นแล้วอาวัชชนะจึงตัดภวังค์เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ฌานปัจจเวกขณ ต่อนั้นไปก็ฌานปัจจเวกขณ์แล [ปฐมฌาน] ก็ด้วยลำดับแห่งภาวนาเพียงเท่านี้ พระโยคาวจรนั้น ชื่อว่า สงัดจากกามทั้งหลายเทียว สงัดจากธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศลเทียว เข้าถึงฌานที่ ๑ อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ปฐมฌานปฐวีกสิณอันละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ มีความงาม ๓ ประการถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ เป็นอันพระโยคาวจรนั้นได้บรรลุ แล้ว ด้วยประการฉะนี้ มหาฎีกาอธิบายว่า ที่ว่ากำหนดกาลในสถาน ๓ ไม่มีนั้น ก็เพราะว่า ในสถาน ๓ นั้น ลางสถานนับประมาณขณะจิตไม่ได้เอาทีเดียว ลางสถานก็นับได้เป็นขณะสั้นเต็มที เป็นว่าจะหาสถานไหนได้ชวนะเต็มวิถีไม่มีเลย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More